การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ต้องขังทั้งที่มี
และไมม่ ปี ระสบการณท์ อผา้ ไหม จาํ นวน 35 คน กลุม่ ที่ 2 ผบู้ ริหารและเจา้ หนา้ ทขี่ องทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหม จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ 3 วิทยากรสอนทอผ้าไหม เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดสนทนากลุ่ม การสังเกตและบันทึก
ในแบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content
Analysis) ผลการวิจัยได้หลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิง คือหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมยกดอก
(ลายนารีสานฝัน) มีจุดประสงค์หลักของหลักสูตรเพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการ
ทอผ้าไหมยกดอกจนเกิดทักษะสามารถปฏิบัติได้ ระยะเวลาในเรียน จำนวน 380 ชั่วโมง โครงสร้างของหลักสูตร
วิชาชีพ ประกอบด้วย (1) ภาพรวมของกระบวนการทอผ้าไหม (2) วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการ
ทอผ้าไหม (3) การกรอไหม (4) การสาวไหม (5) การเข้าฟันหัวและเข้าหัวม้วน (6) การเก็บตะกอเขาเหยียบ/
การเก็บตะกอผืนผ้า (7) การเขียนลาย (8) การคัดลาย (9) การเก็บตะกอดอก (10) การทอผ้าและตรวจเช็ค
ความเรียบร้อยของผืนผ้า (11) การตลาดผ้าไหมไทย (12) การวัดและประเมิน
The research aimed at developing Thai Silk Weaving Vocational Curriculum for Chiang Mai
Women Correctional Institution. It was a participatory action research. There were 3 samples
comprised of Group 1: 35 prisoners with and without experience of silk weaving, Group 2: 5
management and officials from Chiang Mai Women Correctional Institution who were involved with
the Thai silk weaving training group, and Group 3: a Thai silk weaving instructor. The tools for
collecting data were the questionnaires, interview, group discussion, observation and recording in
the activity log. Statistics used for data analysis included percentage and mean. The content
analysis was also applied.The research findings resulted in the Thai Silk Weaving Vocational
Curriculum for Women Correctional Institutionwhich is Brocade Thai Silk Weaving Vocational
Curriculum (Naree Sanfan Pattern). The main objective of the curriculum is to provide the prisoners
with knowledge and understanding of the Brocade Thai silk weaving process until they gain a skill
and can actually perform the work. The learning duration was 380 hours. The structure of the
vocational curriculum consisted of (1) The overview of the silk weaving process, (2) The materials
and tools used in silk weaving, (3) Silk spinning, (4) Silk reeling (5) Thread winding and sewing
frame arrangement, (6) Threads pattern arrangement by heddles (keb-ta-ko-khao-yeab),
(7) Drawing flower design, (8) Inserting flower design, (9) Designing thread by heddles (keb-ta-ko-dok),
(10) Weaving and checking the fabric, (11) Thai Silk marketing and (12) Measurement and evaluation.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กิตติธัช คงชะวัน.(2553). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนีพร ประภัสสร อิ่นแก้ว คันทะวงศ์ และสมบูรณ์ รอบรู้. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.
รจนา ชื่นศิริกุลชัย. (2542). การค้นคว้าอิสระเรื่องการศึกษาผ้าไหมยกดอกลำพูน. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมยศ สีขาว และพรกมล ระหาญนอก . (2557). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาชาวบ้าน จังหวัดเลย โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สุมิตร คุณานุกร. (2532). หลักสูตรการสอน .กรุเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
อัญชนา ศรีเรืองฤทธิ์ ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ และณัชยา หุมนา. (2552). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนไทย. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
เอกสารประกอบการนำเสนอการตรวจประเมินเพื่อขอรับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2560 (อัดสำเนา). (2560). เชียงใหม่: ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่.
Saylor, J. G. ; Alexander, W. M. & Lewis, Arthur J. (1981).CurriculumPlanning for Better Teaching and learning. New York: Holt Rinehart and Winston.
Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt.