การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชน กึ่งเมืองตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดการชุมชน แบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

จารุณี ภัทรวงษ์ธนา
สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ
พงศ์กร จันทราช

Abstract

งานวิจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน รองรับการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนา(Research and Development) โดยการประยุกต์กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบร่วมกับกระบวนการการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (Participatory Action Research: PAR) ภายใต้วงจรพัฒนาระบบ(System Development Life Cycle :SDLC) ประชากรในการวิจัยคือ ชุมชนในเทศบาลตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 หมู่บ้าน โดยกรณีศึกษาต้นแบบครั้งนี้ ได้แก่ ชุมชนบ้านปากกองหมู่ที่ 5


ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาระบบโดยใช้ภาษาสคริปต์พีเอชพี (PHP) และใช้ระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ในการจัดเก็บข้อมูล ในส่วนของการออกแบบเว็บไซต์ของระบบสารสนเทศ ใช้เทคนิคออกแบบการแสดงผลในลักษณะ Responsive Website ที่รองรับการแสดงผลบนทุกอุปกรณ์ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นรองรับการใช้งานของคน 4 กลุ่มได้แก่ (1)ผู้ใช้งานทั่วไป (2)ตัวแทนชุมชน (3)เจ้าหน้าที่เทศบาล (4)นักวิจัย 
โดยที่ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มมีระดับการเข้าถึงข้อมูลที่แตกต่างกัน


ผลของการพัฒนาระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1)ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อใช้ใน
การบริหารจัดการข้อมูล (2)ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ใช้ระบบ (3)ระบบสืบค้นสารสนเทศ  (4)ระบบการออกรายงาน  การประเมินผลการใช้งานมีการวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลประเมินการใช้งานระบบจากผู้ใช้งานทั้ง 5 กลุ่มจากผู้ใช้งาน 4 กลุ่มและผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รวมทั้งสิ้นจำนวน 34 ท่าน  พบว่า ด้านการใช้งานระบบมีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินความพึงพอใจ
ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.51)  ผลการประเมินด้านการออกแบบระบบมีค่าเฉลี่ยของผลการประเมิน
ความพึงพอใจในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.63) ส่วนผลการประเมินด้านประสิทธิภาพของระบบมี
มีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (4.51)


The research entitled ‘The Development of Management Information System for Support the Community PlaningPreparation  in  Semi-urban Area at Saraphi Sub-District, Saraphi District, Chiang Mai Province to Encourage Participation Community Management for Sustainable Development.” aimed at developing the information system for support managing the community development plan in order to support the participation of community management for the sustainable development. This research is a research and development by applying the conceptual framework of the system development with the Participatory Action Research in the system development life cycle. The research participants are the communities in 10 villages located in Saraphi Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province. In this study, the community model is the community in Ban Pakkong Moo 5.


The researcher developed the systems using the PHP scripting language and used the MySQL database system for the data storage. Furthermore, the responsive web design technique for the displays in all the operating systems was used in web design. Developed information systems are designed for four groups of users: (1) the general users, (2) the community officials, (3) the municipal officials, and (4) the researchers. Each group has different priorities to access the system.


The results of the system development consist of as follows: (1) the database management system used for the data management, (2) the data management system used for the users, (3) the searching information system, and (4) the reporting system. Mean and standard deviation were then analyzed for the system evaluation. The results reveals that 34 people from the four groups of users selected from five groups of users and the experts in the field of information technology found that the mean score of their satisfaction in the system was in the highest satisfaction with the score of 4.51. For the system design, the highest satisfactory with the score of 4.63 was found and there was the highest satisfaction with the score of 4.51 for the efficiency evaluation.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

จารุณี ภัทรวงษ์ธนา, The Far Eastern University

Department of Informationn Technology

Faculty of Science and Technology

สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ, The Far Eastern University

Department of Informationn Technology

Faculty of Science and Technology

พงศ์กร จันทราช, The Far Eastern University

Department of Informationn Technology

Faculty of Science and Technology

References

กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2555). รายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ : กรณีศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางั่ว. เพชรบูรณ์. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ.2554 – 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทุน. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็นยูเคชั่น.

เทศบาลตำบลสารภี. (2558). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560) แก้ไข เปลี่ยนแปลง (ฉบับที่ 1) และเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). เชียงใหม่.เทศบาลตำบลสารภี.

เผด็จ จินดา. (2553). ระบบสารสนเทศชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน.วารสารสารสนเทศศาสตร์. 2553(28), 93-105.

ไพศาล กาญจนวงศ์, สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์,ศรีกุล นันทะชมพู และ อาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของโฮมสเตย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2557(4), 503-515.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2551). ระบบฐานข้อมูล Database Systems. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อับดุลคอเล็ด เจะแต. (2557). กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านเกาะสวาด ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 5 วันทที่ 16 พฤษภาคม 2557 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ . หาดใหญ่ : สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่