การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประเมินสมรรถนะรายวิชา โดยใช้หนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 สำหรับนักเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคุณภาพและหาประสิทธิภาพของหนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและก่อนเรียน โดยใช้หนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 และ 3) เพื่อประเมินสมรรถนะรายวิชา โดยใช้หนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 กลุ่ม 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 23 คน โดยเลือกวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพหนังสือเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินสมรรถนะรายวิชา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบ ค่าที (t-test Dependent) ผลการประเมินคุณภาพหนังสือเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนที่ได้รับการเผยแพร่ผลงานวิชาการหนังสือเรียน มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.53) และหนังสือเรียนมีคุณภาพตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนดังกล่าว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.52, S.D. = 0.57) ประสิทธิภาพของหนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.53/84.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือเรียน วิชาการบัญชีอุตสาหกรรม รหัสวิชา 20201-2004 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ระดับ .01 และมีผลการประเมินสมรรถนะรายวิชา ที่มีความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.65, S.D.= 0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารนวัตกรรมสังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทัศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยกับทัศนะเหล่านั้นและไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
2. ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว
3. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นได้รับการสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และ สินินาฏ วงค์เทียนชัย. (2561). การบูรณาการรายวิชาการบัญชีบริหารสำหรับการเรียน ของนักศึกษา สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ NEUNIC 2018 .
จรรจิรา ดาราชาต. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
จิรภา นุชทองม่วง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การหาพื้นที่โดยใช้กระดานตะปู ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างวิทยา [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
จิระประภา คำภาเกะ. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยใช้ เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศวรรณ์ ณ พิกุล. (2551). การพัฒนาหนังสือเรียนการอ่านและการเขียนภาษาไทยเบื้องต้น สำหรับชาวต่างประเทศ เพื่อใช้ในโรงเรียนสอนภาษา วาย เอ็ม ซี เอ เชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
นำโชค วัฒนานัย. (2557). การประเมินคุณภาพหนังสือเรียนด้านช่างอุตสาหกรรมในระดับอาชีวศึกษา. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 4(8), 1-10.
บรรเจิด เปาจีน. (2557). รายงานการใช้หนังสือเรียนวิชางานถอดประกอบเครื่องกลเบื้องต้น รหัสวิชา 2100- 1007. วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2552). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลดาวัลย์ แย้มครวญ. (2559). การออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี].
วัฒนา พัฒนพงศ์. (2546). การบริหารเพื่อมุ่งอนาคต. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2544). การสร้างชุดพัฒนาตนเองเริ่องการวิจัยในชั้นเรียน (รายงานการวิจัย). คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร.
วิชัย แหวนเพชร. (2557). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเอกสารคำสอน รายวิชาการจัดการการผลิตและการดำเนินการ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(1), 43-42.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2553). สื่อการเรียนรู้และนวัตกรรมอาชีวศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมการศึกษาสู่มาตรฐานอาชีวศึกษา .
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชี. https://bsq.vec.go.th/9/Curse/20/2562/20200/20201v4.pdf.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). บัญชีกำหนดสื่อการเรียนรู้ สำหรับเลือกใช้ในสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2555. http://202.29.173.190/textbook/web/
สุกัญญา ศุภพลกิจ. (2551). การสร้างหนังสือเตรียมความพร้อมทางภาษาสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, .
สุพรรณี อาศัยราช. (2550). การวิเคราะห์และประเมินหนังสือเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร].
เสกสรร ศรียศ. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพหนังสือเรียน วิชากรรมวิธีการผลิต (2101-2007) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. http://research.otepc.go.th/files/4.%20รายงานคุณภาพหนังสือเรียน%20วิชากรรมวิธีการผลิต _removed_tuyyuy2o.pdf
อำนาจ ทองแสน. (2559). รายงานผลการใช้หนังสือเรียนวิชาทฤษฎีเครื่องมือกล รหัสวิชา 2102-2003 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
Ferrant, J.S. (1988). Principle and Practice of Education (2nd ed.). Singapore: Lungmar Singapore Publishers Pte.
Hutchinson, T. and Torres, E. (1994). The textbook as the agent of change. ELT Jounal, 48(4), 315- 327.