การพัฒนารายการคำศัพท์วิชาการทางภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยใช้ วิธีการด้านภาษาศาสตร์คลังข้อมูล; Constructing an Academic Word List of Business English: A Corpus-Based Approach

Authors

  • อังคณา ทองพูน พัฒนศร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

คำศัพท์วิชาการ, ภาษาอังกฤษธุรกิจ, การศึกษาด้านคลังข้อมูล, academic words, Business English, corpus-based studies

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์คลังข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน โดยคอร์ปัสหรือภาษาศาสตร์คลังข้อมูลทางภาษาอังกฤษธุรกิจซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกว่า KKU-BE Corpus  พัฒนามาจากหลักการการสร้างภาษาศาสตร์คลังข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งจำนวนคำในภาษาศาสตร์คลังข้อมูล KKU-BE Corpus  มีจำนวนประมาณ  16 ล้านคำ โดยรวบรวมเนื้อหาจากตำรา บทความวิจัย บทความออนไลน์ และหนังสือพิมพ์จากสาขาวิชาทางภาษาอังกฤษธุรกิจ 8 สาขาวิชา ประกอบด้วย การบัญชี การตลาด การโฆษณา การเงิน กฎหมายธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ  โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกคำและพัฒนารายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจที่สำคัญในการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษธุรกิจ 3 ข้อ คือ คำศัพท์ที่จะคัดเลือกต้องมีความเป็นเฉพาะทางทางศาสตร์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มีความถี่ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการครอบคลุมสาขาวิชาย่อยของภาษาอังกฤษธุรกิจ  จากผลการวิจัย พบว่ารายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจ หรือ BEAWL ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยคำหลัก 415 คำ ซึ่งเมื่อรวมคำหลักและคำสมาชิกของคำหลักด้วยจะมีคำทั้งหมด 1572 คำ  รายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจจำนวน 415 คำนี้สามารถแบ่งออกเป็นรายการคำศัพท์ย่อย 7 รายการ  ในการแบ่งเป็นรายการย่อยของคำศัพท์วิชาการทางภาษาอังกฤษธุรกิจนี้ใช้วิธีการใหม่  โดยพิจารณาเกณฑ์ด้านการครอบคลุมของคำศัพท์เป็นเกณฑ์หลักก่อนการพิจารณาด้านความถี่ของคำ  โดยในรายการย่อย 3 ชุดแรกเป็นคำที่เกิดขึ้นในสาขาย่อยของภาษาอังกฤษธุรกิจทั้ง 8 สาขาวิชา ส่วนในรายการย่อยชุดที่ 4-7 เป็นคำที่เกิดขึ้นอย่างน้อยใน 4 สาขาวิชาขึ้นไป  รายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจที่สร้างขึ้นนี้คลอบคลุมคำใน KKU-BE Corpus ประมาณ 12.66 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งรายการคำศัพท์วิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจนี้มีประโยชน์อย่างมากในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษธุรกิจซึ่งเป็นการสอนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำที่จำเป็นและสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนและการพัฒนาคำศัพท์ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

Abstract

This corpus-based study aims to construct an academic word list for Business English (BE) which has not yet been conducted before. To do this, a corpus of Business English was compiled: the KKU-BE Corpus. The corpus was developed applying principles reviewed from previous literature and related studies. It contains approximately 16 million words, covering four text types (i.e., book, journal articles, websites, and newspaper) across the eight major disciplines of Business English: accounting, marketing, advertising, finance, business law, tourism, economics, and management. Three principles of specialization, frequency, and range were adopted to guide the construction of the Business English Academic Wordlist (BEAWL). Based on the findings of this study, the BEAWL contains 415 headwords and 1572 family members. The list was further divided into sub-lists using an innovative method. The sub-lists are arranged first by word representation across subject areas and then by word frequency. The words in the first three sub-lists occur in all eight subject areas, and those in the other four sub-lists appear in four to seven subjects areas. The BEAWL accounts for 12.66% of the total BE corpus. These findings can be applied in the teaching of Business English and English for Specific Purposes (ESP); this word list can help language learners acquire the vocabulary they need to be successful in their learning within the time constraints of their academic lives.

Downloads

Published

2017-08-31

How to Cite

พัฒนศร อ. ท. (2017). การพัฒนารายการคำศัพท์วิชาการทางภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยใช้ วิธีการด้านภาษาศาสตร์คลังข้อมูล; Constructing an Academic Word List of Business English: A Corpus-Based Approach. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 34(2), 1–31. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/100956

Issue

Section

บทความวิชาการ