หลักพุทธธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข; Buddhist Principles for Peacefull Co-Existence

Authors

  • วิเชียร แสนมี สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

หลักพุทธธรรม, สันติภาพ, Buddhist Principles, Peacefull Co-Existence

Abstract

การวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ภิปรายผลเกี่ยวกับคุณค่าความหมายและความสำคัญของคำว่า สันติภาพ ในหลักการดำเนินชีวิตทั้งในทางศาสนาและวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสันติภาพและหลักอหิงสา (การไม่เบียดเบียน รุนแรงต่อกันและกัน) ในหลักพระพุทธศาสนา และ 3) แนวความคิดสันติภาพ ตามหลักพุทธธรรม ที่เกี่ยวข้องกับสังคม แหล่งที่มาหลักของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พระไตรปิฏก อรรถกถาหมวดธรรมต่างๆ และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่นงานวิจัยหนังสือและผลงานทางวิชาการ ฉะนั้น สันติภาพคือจุดประสงค์หลักของการอภิปรายในแนวความคิดตามหลักพุทธธรรมด้วยเหตุนี้ คำว่าสันติภาพนั้นไม่เพียงแต่หมายถึงภายนอกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงภายในจิตใจของมนุษย์ด้วย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า จิตสงบพบสุข พุทธปรัชญาสังคมที่คิดเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติของชีวิตที่ดีนั้น จะกล่าวถึงการมีชีวิตที่กลมกลืนเอื้อเฟื้อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ธรรมและวินัยไว้เป็นเนืองๆ ในที่ทุกสถานที่เสด็จไป หลักคำสอนของพระองค์นั้นจึงก่อให้เกิดสันติสุขภายในสงบสุขส่งผลให้ชีวิตมีความรักความสามัคคีซึ่งกันและกันและผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือฆราวาสที่ปฏิบัติหน้าที่ในสังคมจำต้องทำให้เกิดความสงบสุขและพึงมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และส่งเสริมอารยธรรมโลกด้วย จิตใจเป็นบ่อเกิดทั้งสงครามและสันติสุข ทั้งนรกและสวรรค์ หรือแม้แต่ความสุขและความทุกข์ยาก หรือแม้แต่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เกิดมาจากภายในจิตใจ สงครามเป็นความชั่วร้ายทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นจากความชั่วร้ายหรือความไม่ดีของจิตใจมนุษย์ และความสงบสุขอันเป็นสิ่งที่ดีหรือเรียกว่า คุณธรรม ก็ล้วนมามาจากจิตใจที่ดีของมนุษย์ ดังนั้นพระพุทธศาสนานั้น ถือใจเป็นสำคัญที่สุด ถือว่าใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ เป็นบ่อเกิดทั้งความรุนแรงและความสงบสุขทั้งมวล

 

Abstract

            The objectives of this research were 1) to discuss the meaning and significance of peace in religious and cultural life of the people of this mundane world, and 2) to discuss the concepts of peace in the Buddha’s teaching, relevant to the society. The main sources of this study were Tripiṭaka, Exegesis, Tika and other related sources such as research papers, books and academic works. While talking about Buddhism, peace is the central aim of the conceptual discussion. It does not only mean for outside, but also inside or in other words the peace of mind. A Buddhist social philosophy which thinks about the practice of the good life is said to consist in harmonious living with one’s fellow beings. Buddha’s tenet teaches two disciples at several places and time, the doctrine, which gives inward peace, resulting in harmonious living. The monk or layman whoever discharges their duties in the society, shall cause peace to the other fellow person. Mind is the source of war and peace, hell and heaven and happiness and misery. Even Nibbāna is to be found in the mind. War as a social evil is created from the evil or unwholesome mind and peace belong to good or virtue come from the wholesome mind. So, Buddhist accepts mind as the source of all violence and peace. 

Downloads

Published

2017-08-31

How to Cite

แสนมี ว. (2017). หลักพุทธธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข; Buddhist Principles for Peacefull Co-Existence. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 34(2), 217–244. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/100964

Issue

Section

บทความวิชาการ