ปริทัศน์การศึกษาว่าด้วยชาติพันธุ์ไทยวน; A Review of Studies on Tai Yuan Ethnicity
Keywords:
ยวน, ไทยวน, ไตยวน, คนเมือง, ไทศึกษา, Yuan, Tai Yuan, Khon Muang, Tai studiesAbstract
บทความนี้เป็นการทบทวนวาทกรรมว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ภายใต้กรอบแนวคิดทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และพันธุศาสตร์ประชากร โดยพบว่า ไทยวนเป็นวาทกรรมที่หมายถึงชนกลุ่มใหญ่ของแคว้นโยนกและอาณาจักรล้านนาในอดีต จากร่องรอยทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางพันธุกรรมชี้ว่าชาวยวนมีบรรพบุรุษสัมพันธ์กับกลุ่มคนไทที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานร่วมกับคนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และได้เคลื่อนย้ายออกไปโดยรอบบริเวณที่ราบลุ่มแอ่งหุบเขาในภาคเหนือของประเทศไทย โดยลักษณะทางพันธุกรรมของชาวยวนมีความใกล้ชิดกับชาวไทลื้อและกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคเหนือที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร จึงสันนิษฐานว่ามีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนและหลอมรวมวัฒนธรรมจนกลายเป็นชาวยวน ชาติพันธุ์ไทยวนจึงเป็นผลจากการแสดงออกทางสังคมของกลุ่มคนที่มีสำนึกทางวัฒนธรรมร่วมกัน ภายใต้บริบททางจารีตวัฒนธรรมหรือความสัมพันธ์ทางวงศาคณาญาติชาติพันธุ์ที่มีร่วมกัน โดยมิได้เคร่งครัดตามการสืบสายทางชาติพันธุ์ไทแต่เพียงเท่านั้น
Abstract
This article reviewed the discourses about Tai Yuan ethnic group under conceptual frameworks of history, anthropology and population genetics. It was found that Tai Yuan was a discourse that meant the majority group of the state of Yonok and the Kingdom of Lanna in the past. However, based on historical traces and genetic evidences, it was indicated that the Tai Yuan had ancestors related to Tai people group settling down in the southern area of China. The latter moved further south into the lowland areas of the Kok River and settled down there with indigenous people since pre-historic age, and then they moved further south-west into settlements scattered around valley plain areas in the north of Thailand. Genetic characters of the Tai Yuan were close to those of the Tai Lu and indigenous people groups in the north of Thailand who spoke languages belonging to Mon-Khmer language family. It was hence presumed that there were interactions between people groups and subsequently their acculturation such that those groups became the Tai Yuan. Therefore, Tai Yuan ethnicity resulted from social expressivity of people groups who had mutual social awareness under the context of mutual custom and culture, or mutual kin and ethnicity relationship without being strictly and exclusively descended from Tai ethnicity.