การวิเคราะห์โฆษณาประเภทเรื่องเล่าของสินค้าเพื่อสุขภาพ
Keywords:
ทฤษฎีเชิงไวยากรณ์ระบบหน้าที่, โฆษณาประเภทเรื่องเล่า, สินค้าเพื่อสุขภาพ, Systemic Functional Grammar, narrative advertising, Health ProductAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือศึกษาระบบหน้าที่ทางความหมาย (metafunction) เพื่อที่จะวิเคราะห์ระบบของใจความหลัก ระบบของประโยคตามมาลา และระบบความสัมพันธ์ระหว่างนามกับกริยาในตัวบทโฆษณาประเภทเรื่องเล่าในนิตยสารชีวจิตซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 6 ตัวบท แนวคิดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ทฤษฎีไวยากรณ์เชิงระบบหน้าที่ (systemic functional grammar) ได้แก่ หน้าที่ด้านเนื้อความ (textual metafunction) หน้าที่ด้านบุคคลสัมพันธ์ (interpersonal metafunction) และหน้าที่ด้านประสบการณ์ (experiential metafunction)
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าประเภทใจความหลัก (theme) ที่พบมากที่สุด คือใจความหลักแสดงเรื่อง (topical theme) ทั้งประเภทปรากฏรูปและการละรูป โดยใจความหลักแสดงเรื่องส่วนใหญ่เป็นใจความแบบไม่เน้นความเด่น รองลงมาคือใจความหลักแสดงตัวบท (textual theme) และใจความหลักแสดงปฏิสัมพันธ์ (interpersonal theme) ส่วนประเภทของประโยคตามมาลา (mood )ที่พบมากที่สุด คือ ประโยคบอกเล่า (declarative) ส่วนประโยคคำสั่ง (imperative) พบเพียง 1 ประโยค แต่ไม่พบประโยคคำถาม (interrogative) เนื่องด้วยเป็นตัวบทโฆษณาที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนามกับกริยาพบว่ามีการใช้คำกริยา 4 ประเภท ได้แก่ คำกริยาแสดงการกระทำ (material) คำกริยาแสดงลักษณะ (relational) คำกริยาทางจิตใจ (mental process) และคำกริยาทางการสื่อสาร (verbal process) โดยพบคำกริยาแสดงการกระทำ มากที่สุด รองลงมาคือ คำกริยาแสดงลักษณะ คำกริยาทางจิตใจและคำกริยาทางการสื่อสารตามลำดับ
Abstract
The objectives of this study are to study the metafunction in order to analyze the system of Theme, the system of Mood ,and the system of Transitivity between nouns and verbs in narrative advertising texts of health products of Chewajit magazine which were published in 2012, 6 texts. The frame work used in this study is Systemic Functional Grammar in term of the textual metafunction , the interpersonal metafunction and the experiential metafunction .
The result of this study reveals that the most common theme is topical theme by means of the linguistic form and ellipsis. For topical theme, unmarked Topical is the most selected theme used in the texts and interpersonal theme. For the system of Mood, the declarative sentences occurred at the highest rate and find 1 imperative sentence but not find interrogative sentence .Since the speech function of advertising is the commodity of exchange : giving information the goods. Regarding the system of transitivity between nouns and verbs ,four main process were found in advertising texts ; material , relational , mental and verbal process. The material process was the most frequently selected followed by the relational process, mental process and verbal process.