ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Keywords:
ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, Academic integrity, Undergraduate, Three Southern ProvincesAbstract
บทคัดย่อ
การส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาอันจะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นของสาธารณาชนต่อสถาบัน อย่างไรก็ตามความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษายังคงปรากฏอยู่ทั่วไป ดังนั้น งานวิจัยเรื่องนี้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยวิธีการวิจัยเป็นเชิงปริมาณเน้นศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วนด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 20,319 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 96.87 ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อความซื่อสัตย์ทางวิชาการ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ มีอิทธิพลทางบวกต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมความซื่อสัตย์ทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะเดียวกันเจตนาเชิงพฤติกรรมความซื่อสัตย์ทางวิชาการมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ทางวิชาการสูงถึง ร้อยละ 74.8 และโมเดลสมการโครงสร้างตามรูปแบบของทฤษฏีพฤติกรรมตามแผนสามารถอธิบายความแปรปรวนของความซื่อสัตย์ทางวิชาการได้ร้อยละ 56.23
Abstract
Promoting academic integrity is the foundation of university success, which will take the confidence of publics to the institution but academic dishonesty continues to exist. Therefore, this research investigates the factors effecting competency of academic integrity of undergraduates in three southern provinces, Thailand. This study uses quantitative methodology by the causal comparative design. Using simple random sampling data collection method, 384 questionnaires are distributed to target respondents of undergraduates in three public universities. The responses collected are 372 completed questionnaires representing 96.87 percent response rate. The data collected using structural equation modeling approach with SmartPLS software. The findings reveal that attitude toward academic integrity (AB), subjective norm (SN) and perceived behavioral control (PBC) are positively significant intention (I), and intention (I) directly effects on behavior of academic integrity. Interestingly, the research model explains a substantial amount of variance (56.23%) academic integrity of undergraduates in three southern provinces.