การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตในบริบทธรรมาภิบาลของกลุ่มสตรีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
การเรียนรู้ตลอดชีวิต, บทบาทสตรี, กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, Lifelong learning, Women’s Roles, Women’s Development FundAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตในบริบทธรรมาภิบาลของกลุ่มสตรี กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดขอนแก่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methodology) การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มสตรีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลและจังหวัด ใช้ 8 อำเภอ 10 หมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น จำนวนผู้ให้ข้อมูล หมู่บ้านละ 18 ราย ได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มสตรีที่เข้าร่วมประชุมวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 40 ราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นการเรียนรู้อย่างมีเครือข่าย ในการเรียนรู้ ได้แก่ เรียนรู้เพื่อรู้ เรียนรู้เพื่อปฏิบัติ เรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน และเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ปัญหาการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลุ่มสตรีที่เข้าร่วมประชุมด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีผลต่อตัวเองด้านทักษะ เทคนิคในการผลิต มีผลต่อบุคคลในครอบครัว ช่วยผลิต การร่วมกิจกรรมกับชุมชนมากขึ้น มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
ABSTRACT
This research was aimed to study situation, problems of lifelong learning and lifelong learning development in the context of Women’s Governance. Women’s development Fund .Khon Kean province. The research methodology here in was qualitative and quantitative research. Qualitative research, the target group consisted of women’s development fund , community development officer, community leader, local government, chairperson of Women’s District Development Fund, all from 8 districts 10 villages, Information group 18 villages each and content analysis. Quantitative research, the population consisted of 40 women participating in the conference on lifelong learning development, 36 samples. Sample identification use the Krecjie and Morgan table. Statistic used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.
The research finding : The situation of lifelong learning : were continuous learning and having a learning network such as learning to learn, learning to perform, learning to live together and learning to change. The problems of lifelong learning : were ,lack of public relation makes marketing far and away and lack of monitoring and evaluation. The development of lifelong learning: women who attended the lifelong learning meeting, effect their in technical skills in production, effect the family in production and marketing help, joint activities with the greater community, is associated with good social community stronger.