สำนึกนิเวศลุ่มแม่น้ำโขง ในนวนิยายสายน้ำและชายชรา : เรื่องเล่าจากคอนผีหลง /Ecological Conscience the Mekong River in novel

Authors

  • ยุพยง ทัศคร
  • มารศรี สอทิพย์

Keywords:

สำนึกนิเวศ, นิเวศวิทยาแนวลึก, วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ, นวนิยาย, วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล, Ecological Conscience, Deep ecology, Ecocriticism, Novel, Wutisan Janwiboon

Abstract

บทคัดย่อ

          บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์สำนึกนิเวศที่ปรากฏในเรื่องสายน้ำและชายชรา : เรื่องเล่าจากคอนผีหลง  ของวุฐิศานติ์  จันทร์วิบูล  ตามแนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาแนวลึกของ อาร์เน  แนสส์   โดยนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์  พบว่า  นวนิยายเรื่องสายน้ำและชายชรา : เรื่องเล่าจากคอนผีหลง  ของวุฐิศานติ์  จันทร์วิบูล  ปรากฏสำนึกนิเวศ  2  ประการสำคัญ  ได้แก่  1)  สำนึกนิเวศที่เป็นภัยต่อธรรมชาติ  คือ  มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ  และการพัฒนาสู่ความเจริญก้าวหน้า  ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม  และ 2) สำนึกนิเวศที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ  คือ  การมองเห็นคุณค่าของชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลาย  และการประจักษ์แจ้งตัวตนที่แท้จริง  เป็นกระบวนทัศน์แบบองค์รวมมองเห็นตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ  และมุ่งอนุรักษ์ธรรมชาติมากกว่าการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ

          นวนิยายเรื่อง สายน้ำและชายชรา : เรื่องเล่าจากคอนผีหลง  ของวุฐิศานติ์  จันทร์วิบูลย์  ได้สะท้อนให้เห็นวิกฤตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำโขง  ที่ได้รับผลกระทบจากสำนึกและการกระทำของมนุษย์ที่มุ่งหาผลประโยชน์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นวนิยายเรื่องนี้พยายามปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้มนุษย์มีสำนึกแบบองค์รวม  เพื่อหยุดการรุกรานธรรมชาติที่เกินความจำเป็นและหันมาดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

 

ABSTRACT

             The Article  aims  to  analyzis  Ecological Conscience the  Mekong River  in  novel.  The  approach  is  Deep Ecology of  Arne Naess. By  presented  descriptive  research  results.  The  results  found that  the  novel  of  Wutisan  Janwiboon  appear 2 ecological Conscience  that  is  to  say  1) Conscience  is  deleterious to nature  which  human  superior over  nature  And development to prosperity. Both science and technology. Including  Economy and society.  And  2) Consciousness  with  nature is  conscience  realize  value  of  life  and   Self  realization  is  Holistic  Paradigm perceive  to  self-reliant one with nature And  aims  to  conserve  more  than  to  take  a  lot  of  the  environment.

            This  novel, It reflects the natural and environmental crisis of the Mekong River Basin. Affected by the realization and action of human beings, seeking to benefit from nature and he environment. This novel attempts to change the paradigm for human consciousness. To stop the invasion of nature beyond the necessity and turn to the care of nature and the environment to live together in a sustainable way.

References

เอกสารอ้างอิง
ฐิตินันท์ พลชัย. (2547). การศึกษาเชิงวิพากษ์เรื่องแนวคิดการยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในนิเวศวิทยาเชิงลึก.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์นาคร.
. (2556). วรรณกรรมสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นาคร. 107.
. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์นาคร, 313-358.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม : โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรจง บุรนิประโคน. (2559). ตัวตนเชิงนิเวศของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ใน กวีนิพนธ์แม่น้ำที่
สาบสูญ. เอกสารจากงานสัมมนาทางวิชาการในโครงการวิจัยเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ :
การวิจัย และพัฒนา (สกว.). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ประเวศ วะสี. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง : การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. กรุงเทพมหานคร :
มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.
ประเวศ อินทองปาน. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบนิเวศวิทยาในพุทธปรัชญากับ นิเวศวิทยาแนวลึก
ตามทัศนะของอาร์เน แนสส์. วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รุจี ตันติอัศวโยธี. (2558). การวิจารณ์วรรณคดีเชิงพุทธนิเวศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎี
บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภิสรา เทียนสว่างชัย. (2560). สวนหลังบ้าน : การเยียวยาของธรรมชาติและเทคโนโลยีในฐานะตัวร้าย.
วารสารมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อาทิตย์ ผ่านพูล. (2558). นิเวศปรัชญากับความสำนึกทางนิเวศวิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2547). เลื่อมลายสายรุ้ง ภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร :
แอคทีฟ พริ้น.
. (2547). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : แอคทีฟ พริ้นท์.
Arne Naess. (1973). 'The shallow and the deep, long-range ecology movement. A summary',
Inquiry, 16: 1, 95 — 100. [online] Retrieved from
https://dx.doi.org/10.1080/00201747308601682.

Downloads

Published

2018-12-28

How to Cite

ทัศคร ย., & สอทิพย์ ม. (2018). สำนึกนิเวศลุ่มแม่น้ำโขง ในนวนิยายสายน้ำและชายชรา : เรื่องเล่าจากคอนผีหลง /Ecological Conscience the Mekong River in novel. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 35(3), 90–113. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/120911

Issue

Section

บทความวิจัย