ระบบเสียงคะฉิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือศึกษาระบบเสียงภาษาคะฉิ่น ประกอบไปด้วยโครงสร้างพยางค์ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่พูดในทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยใช้ทฤษฎีระบบเสียงของ Pike ในการวิเคราะห์ภาษา โดยการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ได้จากผู้บอกภาษาชาวคะฉิ่นจำนวน 30 คนรวบรวมจากชุดคำศัพท์จำนวน 766 คำจากรายการคำศัพท์ของ SIL เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา ผลการวิจัยพบเสียงพยัญชนะจำนวน 24 หน่วยเสียง โดยเป็นพยัญชนะต้นจำนวน 24 หน่วยเสียงและพยัญชนะท้ายจำนวน 9 หน่วยเสียง สำหรับเสียงสระพบสระเดี่ยวจำนวน 10 หน่วยเสียงโดยไม่พบสระประสม และพบเสียงวรรณยุกต์จำนวน 5 หน่วยเสียง นอกจากนี้การวิจัยครั้งนี้ยังมุ่งประเด็นในการวิเคราะห์เรื่องโครงสร้างพยางค์รองและมีการเปรียบเทียบผลของการวิจัยกับงานวิจัยของ Kurabe (2014) ผู้ซึ่งวิเคราะห์ภาษาคะฉิ่นมาตรฐานในประเทศพม่า
คำสำคัญ: คะฉิ่น ระบบเสียง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
Abstract
The objective of this investigation is to study the Kachin phonology including syllabic structures, and consonantal, vocalic and tonal phonemes of Kachin as spoken in northern Thailand by using Phonemics of Pike (1947) to analyze the language. The data collection was collected from 30 Kachin informants and is based on 766 lexical items from the SIL Southeast Asian and African Wordlists. The findings reveal that there are 24 consonantal phonemes, All of them can occur word-initially and nine of which can occur word-finally, ten monophthongs without diphthongs, and five tones. This article also discusses minor syllables and compares the findings with those of Kurabe (2014), who investigated Standard Jingpho in Myanmar.
Keywords: Kachin, phonology, consonants, vowels, tones