การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิถีชีวิตและค่านิยมที่ปรากฏในนวนิยายไทยซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ ช่วงปี พ.ศ. 2549-2561
An Analytical Study on the Ways of Life and the Values as Appeared in The Thai Novels Winning S.E.A Write Award Between 2006 – 2018
Keywords:
THE WAY OF LIVING, THE SOCIAL VALUES, S.E.A. WRITE AWARDED THAI NOVELSAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตและค่านิยมที่ปรากฏในนวนิยายไทยซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ความสุขของกะทิ ลับแล, แก่งคอย คนแคระ ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต และพุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของ แมวกุหลาบดำ ผู้วิจัยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและนำมาสรุปเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในด้านวิถีชีวิต ลักษณะโดยทั่วไปครอบครัวไม่สมบูรณ์ และมีปัญหา ยกเว้นเรื่องความสุขของกะทิ ส่วนสภาพแวดล้อมพบว่า สังคมชนบทไม่มีการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ แต่สังคมเมืองโดยรวมมีลักษณะเร่งรัดและแข่งขันสูง ด้านความเชื่อและขนบประเพณี พบว่า มีความเชื่อเกี่ยวกับผีและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ความฝัน ลางบอกเหตุ และสิ่งลึกลับที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีประเพณีที่สืบทอดกันต่อๆ มา ด้านค่านิยมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีปรากฏในนวนิยายทุกเรื่อง แต่ปรากฏเด่นมากในเรื่อง ความสุขของกะทิ ด้านการพึ่งตนเอง ขยันขันแข็งและมานะอดทนปรากฏเด่นมากในเรื่อง พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ด้านความยึดมั่นในวัตถุนิยมปรากฏเด่นมากในเรื่องไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต และเรื่องลับแล, แก่งคอย ด้านนิยมความมีอำนาจปรากฏเด่นชัดในเรื่องคนแคระ
คำสำคัญ: นวนิยายไทยซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์, วิถีชีวิต, ค่านิยม
Abstract
The objective of this study is to analyze the way of life and social values of 5 (five) S.E.A. Write awarded Thai novels: Kwamsuk Khong Kati, Laplae, Kaengkhoi, Khonkrae, Saiduan Tabot Nai Khao Wongkot, and Buddhasakkarach Assadong Kap Songcham Khong Songcham Khong Maew Kulapdam. The researcher, through his study on relevant sources of documentation, has established a set of criteria for this analysis. From the study of the relevant documents, the findings show that in general the characters of all novels, except those in Kwamsuk Khong Kati, live their own lives in dysfunctional families. In terms of environment, there is no economics competition in the rural society whereas the urban society is encircled by urgency and high competition. Regarding beliefs and norms, the study has seen a number of beliefs on ghosts and superstitious rituals, dreams, omens, and supernatural mysteries that appeal to tradition and are generally continued. The value of generosity is found in every novel, particularly in Kwamsuk Khong Kati. The social values of self-reliance, diligence, and endurance are highlighted in Buddhasakkarach Assadong Kap Songcham Khong Songcham Khong Maew Kulapdam. Saiduan Tabot Nai Khao Wongkot and Laplae, Kaengkhoi accentuates the social value of materialism whereas the Dwarf underlines the love of power.
Keywords: winning S.E.A. write award Thai novels, the ways of life, values
References
2. งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2549). ความสุขของกะทิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง.
3. เจตนา นาควัชระ. (2547). “คำพิพากษา” ใน 25 ปีซีไรต์ รวมบทวิจารณ์คัดสรร. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
4. ตรีศิลป์ บุญขจร. (2523). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). กรุงเทพฯ : บางกอกการพิมพ์.
5. นพพร ประชากุล. (2547). “มีอะไรในลูกอีสาน” ใน 25 ปีซีไรต์ รวมบทวิจารณ์คัดสรร. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
6. ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2557). “การอ่านบันเทิงคดี” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2547). “25 ปีซีไรต์” ใน 25 ปีซีไรต์ รวมบทวิจารณ์คัดสรร. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
8. วิภาส ศรีทอง. (2555). คนแคระ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
9. วีรพร นิติประภา. (2558). ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต. กรุงเทพฯ : มติชน.
10. ___________. (2559). พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ. กรุงเทพฯ : มติชน.
11. สิทธา พินิจภูวดล. (2556). “ลักษณะงานเขียน” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
12. สุรพงษ์ ยิ้มละมัย. (2545). วรรณกรรมศึกษา. สงขลา : ภาควิชาสารัตถะศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
13. อุทิศ เหมะมูล. (2552). ลับแล, แก่งคอย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง.