“เปรียบเวียดนามคือพ่อ เปรียบไทยคือแม่” และ “มีองค์”: อัตลักษณ์ลูกผสมในพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม
“Vietnam as the Father and Thailand as the Mother” and “have root of mediumship”: Hybrid Identities of Vietnamese-Thai descendants in spirit possession rite
Keywords:
spirit possession rite, Vietnamese-Thai descendants, hybridizationAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ในวงวิชาการไทย เพราะจากการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง ยังไม่พบว่ามีนักวิชาการไทยท่านใดให้ความสนใจวิจัยมาก่อน บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกลายเป็นวัฒนธรรมลูกผสมในพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อวิจัยพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในครั้งนี้ โดยให้ความสำคัญกับการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องและการทำวิจัยภาคสนาม ที่เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า การปรากฏตัวของพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในสังคมไทย สัมพันธ์กับการอพยพเข้ามาของคนเวียดนามในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลังปี 2488 เป็นต้นมา แม้รูปแบบและเนื้อหาของพิธีทรงเจ้า ไม่ปรากฏ “การกลายเป็นวัฒนธรรมลูกผสม” ระหว่างความเป็นเวียดนามกับไทยก็ตาม แต่ลักษณะดังกล่าวกลับไปปรากฏที่คนทรงเจ้าและผู้ร่วมพิธีในลักษณะ “อัตลักษณ์ลูกผสม” นั่นก็คือ สำหรับพวกเขาแล้ว ถือว่าเวียดนามเปรียบเป็นพ่อและประเทศไทยเปรียบเสมือนแม่ นอกจากนี้ การ “มีองค์” ทำให้ตัวตนของพวกเขากลายเป็นลูกผสม ในลักษณะตัวตนหนึ่งคือเป็นไทย แต่อีกตัวตนหนึ่งก็คือการเป็นร่างทรงขององค์เทพฯ เวียดนาม
References
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2521). ญวนอพยพ กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
จตุพร ดอนโสม. (2551). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ขอนแก่น : วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เฉลิมชัย ผิวเรืองนนท์. (2524). ทัศนคติคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อเวียดนาม : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างจังหวัดที่มีและไม่มีชาวเวียดนามอพยพอาศัยอยู่ กรุงเทพฯ : สถาบันเอเซีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญชัย คงเพียรธรรม. (2556). เรื่องผีในอีสาน: ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร ส่วยและเวียดนามที่อาศัยยู่บริเวณอีสานใต้ของประเทศไทย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ธัญญาทิพย์ ศรีพนา. (2548). เหวียต เกี่ยวในประเทศไทยกับกับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม กรุงเทพฯ : หน่วยปฏิบัติการวิจัยแม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชนงค์ อุเทศพรรัตนกุล. (2544). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองนครพนม รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระสาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผุสดี จันทวิมล. (2541). เวียดนามในเมืองไทย กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
วิชาญ จำปีศรี และ สุทวิช สุพรรณ. (2519). ญวนอพยพกับความมั่นคงของชาติ กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
วารีรัตน์ ปั้นทอง. (2544). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (กลุ่มสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศริญญา สุขรี. (2558). ชาวเวียดนามอพยพ: นายทุนยุค “ไทยใหม่” และการกลายเป็นชนชั้นนำเมืองชายแดน เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิลปกิจ ตี่ขันติกุล (2562). “จากแรงงานข้ามชาติเวียดนามสู่การกลายเป็นคนทรงชั้นครู”: การสร้างความเป็นของแท้ขึ้นใหม่ในพิธีทรงเจ้าของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดอุดรธานี” .วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 36(2), 55-73.
Barley Norton. (2006) .““Hot-Tempered” Women and “Effeminate” Men: The Performance of Music and Gender in Vietnamese Mediumship” In Karen Fjelstad and Nguyen Thi Hien (ed.) Possessed by the Spirits: Mediumship in Contemporary Vietnamese Communities New York: Cornell Southeast Asia Program Publications.
Hien Thi Nguyen. (2002). The Religion of the Four Palaces: Mediumship and Therapy in Viet culture. Unpublished Dissertation, Department of Folklore and Ethnomusicology, Indiana University.
Kirsten W. Endres. (2006). “Spirit Performance and the Ritual Construction of personal Identity in Modern Vietnam” In Karen Fjelstad and Nguyen Thi Hien (ed.) Possessed by the Spirits: Mediumship in Contemporary Vietnamese Communities New York: Cornell Southeast Asia Program Publications.
Nestor Garcia Canclini. (1995). Hybrid cultures: Strategies for Entering and Leaving Modernity. University Of Minnesota Press.
Đào Duy Anh. Việt Nam Văn Hoá Sử Cương. (1998) .[เค้าโครงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์เวียดนาม] Hồ Chí Minh: Nxb Thanh Thuỷ.
Hà Văn Tăng,Trương Thìn. Tín Ngưỡng-Mê Tín. (1998) .[ความเชื่อ-งมงาย] Hà Nội: Nxb Thanh niên.
Nguyễn Đăng Duy. Văn hoá tâm linh. (2001). [วัฒนธรรมความเชื่อ] Hà Nội: Nxb văn hoá thông tin.
Nguyễn Kim Hiền. (2004). "Lên đồng ở Việt Nam-một sinh hoạt văn hoá tâm linh mang tính trị liệu" [พิธีทรงเจ้าที่เวียดนาม-กิจกรรมวัฒนธรรมความเชื่อด้านการรักษาพยาบาล] trong Ngô Đức Thịnh (chủ biên).
Đạo Mẫu và các hình. (2004). thức shaman trong các tộc người ở Việt Nam và châu Á. [ลัทธิบูชาเจ้าแม่และพ่อมดหมอผีรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ในเวียดนามและเอเชีย] Hà Nội: Nxb khoa học xã hội.
Ngô Đức Thịnh. Đạo Mẫu. (1996). [ลัทธิบูชาเจ้าแม่] Hà Nội: Nxb Khoa học xã hội.
Ngô Đức Thịnh (chủ biên). (2004). Đạo Mẫu và các hình thức shaman trong các tộc người ở Việt Nam và châu Á. [ลัทธิบูชาเจ้าแม่และพ่อมดหมอผีรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ในเวียดนามและเอเชีย] Hà Nội: Nxb khoa học xã hội.
Ngô Đức Thịnh. (2008). Lên Đồng: hành trình cửa thần linh và thân phận. [พิธีทรงเจ้า: การเดินทางของเทพเจ้าและคนทรง] Hà Nội: Nxb Khoa học xã hội.
Phan Kế Bính. (1990). Việt Nam phong tục. [ธรรมเนียมประเพณีเวียดนาม] Nxb Tp. Hồ Chí Minh.
Toan Ánh. (1991). Nếp cũ tín ngưỡng Việt Nam. [ความเชื่อดั้งเดิมเวียดนาม] Hồ Chí Minh: Nxb Thành phố Hồ Chí Minh.
โกเกี่ยม, หญิงอายุ 59 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 23 ธันวาคม 2560, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
โกนิด, หญิงอายุ 59 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 28 กรกฎาคม 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
โกเลิ๋น, หญิงอายุ 59 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 28 กรกฎาคม 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
บ่าเกวี๊ยด, หญิงอายุ 83 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 28 มิถุนายน 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
บ่าเตี๋ยน, หญิงอายุ 81 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
บ๊ากถาย, ชายอายุ 70 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 ธันวาคม 2560, ศาลเจิ่นฮืงด่าว จังหวัดอุดรธานี
แองหุ่ง, ชายอายุ 60 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 7 กรกฎาคม 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
แอมเลิม, หญิงอายุ 29 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 19 ธันวาคม 2560, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
แอมมิล, หญิงอายุ 25 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 7 กรกฎาคม 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
องต่าว, ชายอายุ 83 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 7 กรกฎาคม 2561, ศาลบ่ากุ๊ก จังหวัดอุดรธานี
องหุ่ง, ชายอายุ 57 ปี, สัมภาษณ์, วันที่ 2 ธันวาคม 2560, ศาลองหุ่ง จังหวัดสกลนคร