การวิเคราะห์ความสุขของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมุมมองด้านความพอใจและความหมายต่อชีวิต

The Analysis of the Buddha’s Happiness from the Point of View of “Pleasure” and “Meaning”

Authors

  • วิไลพร สุจริตธรรมกุล -
  • พงษ์ศิริ ยอดสา DCI Center for Buddhist Studies, Thailand

Keywords:

happiness, Buddha, pleasure, meaning

Abstract

บทคัดย่อ

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะของพระบรมครูผู้สอนสัตว์โลกให้พบกับหนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ในวัฏสงสาร พระพุทธองค์ทรงสร้างความสุขให้แก่พระพุทธองค์ในขณะที่มีชีวิตบนโลกแห่งความทุกข์ทั้งสังขารและสังคมได้อย่างไร ซึ่งจากการวิจัยเรื่องความสุขของ ดร. ทาล เบน-ซาฮอาร์ เห็นว่า การที่มนุษย์จะมีความสุขได้นั้นจะต้องเกิดจาก “ความพอใจ” และ “ความหมาย” จากสิ่งที่ตนเองกระทำผ่านพฤติกรรมอันเป็นปัจเจกบุคคล ปฏิเสธไม่ได้ว่า พุทธศาสนิกชนล้วนเชื่อมั่นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีความสุข แต่ผู้เขียนมีความสนใจว่า การใช้ชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความสุขที่เป็นไปตามการวิจัยความสุขของ ดร. ทาล หรือไม่ แม้ในทางพระพุทธศาสนาจะมองทฤษฎีความสุขทางโลกว่าเป็นเพียงโลกิยสุขก็ตาม

ดังนั้น ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาวิเคราะห์ความพอใจและความหมายต่อชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเฉพาะส่วนที่เป็นโลกิยสุขนับตั้งแต่คราวยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะจนถึงการบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณว่า เหตุปัจจัยใดที่พระพุทธองค์ทรงสร้างความสุขใหม่ให้เกิดขึ้นได้ผ่านความพอใจและความหมายต่อชีวิต โดยอาศัยการศึกษาผ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลัก

จากการศึกษาพบว่า พระพุทธองค์ทรงละทิ้งความสุขเดิมที่มีอยู่ในพระราชวังด้วยความไม่พอใจกับชีวิตที่มองเห็นความทุกข์ที่ผู้อื่นไม่ตระหนักนั่นคือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จึงทำให้การตามหาความสุขใหม่เริ่มต้นที่การออกบวชเป็นสมณะ ซึ่งพระพุทธองค์ใช้เวลากว่า 6 ปีที่ในการตามหาความสุขที่แท้จริงจึงพบคำตอบว่า การบรรลุธรรม หมดกิเลส คือ ความสุขที่แท้จริงและนั่นเป็นความพอใจและความหมายต่อชีวิต ซึ่งความพอใจนั้นเกิดจากความบริสุทธิ์ที่หมดกิเลสนำความสุขมาให้แก่พระพุทธองค์ กว่าที่จะได้รับความสุขเช่นนี้มาได้ก็จะต้องเกิดจากพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ในการสั่งสมบารมี 30 ทัศมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 อสงไขยเศษแสนมหากัป จนเกิดเป็นคุณวิเศษ 8 ประการ เรียกว่า วิชชา 8 ซึ่งคุณวิเศษนี้พระพุทธองค์ทรงใช้ในการสร้างเป็นคุณลักษณะพิเศษประจำตัวของพระพุทธองค์ คือ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ หรือที่เรียกว่า พุทธคุณ 3 ประการ ซึ่งทั้ง 3 ประการนี้ได้สร้างความสุขให้กับตัวเอง ด้วยว่าพระบริสุทธิคุณทำให้พระพุทธองค์มีความต้องการน้อยและมีความพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอย่างสันโดษ พระปัญญาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณสามารถทำให้สัตว์โลกพ้นทุกข์จากวัฏสงสารได้จึงทรงมีชีวิตอยู่เพื่อทำให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ซึ่งนั่นเป็นคุณค่าของพระพุทธองค์ที่นำไปสู่ความสุขของพระพุทธองค์

 

คำสำคัญ : ความสุข, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ความพอใจ, ความหมายต่อชีวิต

References

เกสร มุ้ยจีน. (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(4), 673-681.

ธนศักย์ เลิศมงคลโชค (2553). การศึกษาวิเคราะห์อภิญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2556-2557). พุทธคุณ: ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์หรือพระคุณความดีที่ต้องนำไปปฏิบัติ. วารสารไทยศึกษา, 9(2), 1-39.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล และไชยณัฐ ดำดี. (2563). พฤติกรรมศาสตร์: ขอบข่ายและวิธีการศึกษาสำหรับพัฒนาองค์การ. วารสารสาระคาม, 11(2), 24-45.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2545). ชื่อเรียกปัญญาในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(2), 46-81.

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-244.

พระครูสมุห์วรวิทย์ ผาสุโก และพระสุนทรกิจโกศล. (2562). ทุกข์และการดับทุกข์ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4166-4183.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2555). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2543). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

วิทยา ศักยาภินันท์. (2554). คุรุกุล: สถาบันการศึกษาของอินเดียสมัยโบราณ. วารสารมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 18(2), 1-16.

เสริน ปุณณะหิตานนท์. (2537). พฤติกรรมศาสตร์: มุมมองของนักสังคมวิทยา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 1(1), 22-52.

ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา. (2565). พุทธวิธีการสอน: คุณสมบัติของผู้สอน ตอนที่ 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565, https://www.qa.kmutnb.ac.th/qa_news/2557/QANEWS312_25570515.pdf.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555) คู่มือการวัดความสุขด้วยตัวเอง (HAPPINOMETER; The Happiness Self Assessment.) (นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Tal Ben-Shahar. (2559). วิชาความสุขที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด. แปลโดย พรเลิศ อิฐฐ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลิร์น.

Urbinner. (2564). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565, https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs.

Rocco Farano. (2021). Writing for Wellness: Eight Dimensions, Eight experiences. Retrieved May 26, 2021, https://www.prainc.com/ww-2021-8dimensions-8experiences/.

Sonja Lyubomirsky, Laura King and Ed Diener. (2005). The Benefits of Frequent Positive Affect: Does Happiness Lead to Success?. Psychological Bulletin, 131(6), 803-855.

toolshero. (2022). Tal Ben-Shahar’s Happiness Model, Retrieved May 26, 2021, https://www.toolshero.com/psychology/happiness-model/.

Downloads

Published

2023-04-24

How to Cite

สุจริตธรรมกุล ว., & ยอดสา พ. (2023). การวิเคราะห์ความสุขของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมุมมองด้านความพอใจและความหมายต่อชีวิต : The Analysis of the Buddha’s Happiness from the Point of View of “Pleasure” and “Meaning”. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 40(1), 164–192. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/260899

Issue

Section

บทความวิชาการ