การวิเคราะห์วัจนลีลาในงานเขียนแนะนำที่พัก
Style Analysis in Accommodation Reviews
Keywords:
Writing writing Accommodation Reviews, Osotho magazineAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อวิเคราะห์วัจนลีลาในงานเขียนประเภทแนะนำที่พัก ขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้ คือ คอลัมน์ “ที่พักบนเส้นทาง” ในอนุสาร อ.ส.ท. ระหว่างปี พ.ศ. 2560–2561 แนวคิดที่ประยุกต์ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แนวคิดของ เจฟฟรี ลีช และ มิกค์ ชอร์ต (2007)
ผลการศึกษาด้านลักษณะทางภาษามี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.การใช้คำ ผู้เขียนบทความแนะนำที่พักเลือกใช้คำเพื่อแสดงลักษณะที่พักที่พึงประสงค์มากที่สุด รองลงมาคือการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ การใช้คำที่มีวงความหมายเกี่ยวกับการพักผ่อน การใช้คำเรียกสี การใช้คำที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก การใช้คำกริยาที่แสดงการรับรู้ การใช้คำที่มีวงความหมายเกี่ยวกับรูปแบบการตกแต่งและการใช้คำเพิ่มน้ำหนัก 2. การใช้ประโยค พบการใช้ประโยคแจ้งให้ทราบมากที่สุดเนื่องจากสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่พักอันเป็นหลักการประการหนึ่งของการแนะนำที่พัก รองลงมาคือประโยคแนะนำ ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทความคือโน้มน้าวให้ผู้อ่านสนใจที่พักและตัดสินใจเลือกที่พักนั้น ส่วนประโยคคำถามพบน้อยที่สุดเนื่องจากไม่สอดคล้องกับตัวบท 3. การใช้ภาพพจน์ พบการใช้ภาพพจน์แบบเปรียบเทียบมากที่สุด แต่หากพิจารณาจากการสถิติการปรากฏ ภาพพจน์ถือว่าไม่ใช่ลักษณะที่โดดเด่นในบทความแนะนำที่พัก 4. บริบท บริบทที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์บทความแนะนำที่พัก ได้แก่ 1) ผู้ใช้ภาษา 2) การใช้ภาษา 3) ผู้ร่วมสื่อสาร 4) สังคมวัฒนธรรม อนุสาร อ.ส.ท. เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำหน้าที่ผลิตบทความแนะนำที่พักเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่พักซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จุดมุ่งหมายหลักของบทความแนะนำที่พักคือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่พักเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เลือกที่พักแห่งนั้น บทความแนะนำที่พักจึงเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจที่พัก
คำสำคัญ: วัจนลีลา, งานเขียนแนะนำที่พัก, อนุสาร อ.ส.ท.
References
ภาษาไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ ปี 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 19
กันยายน,2561.จากhttps://www.mots.go.th/more_news.php?cid=504&filename=index.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2560. สืบค้น
เมื่อวันที่ 9 กันยายน, 2561. จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9882.
คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559.
สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน, 2564. จาก
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER065/GENERAL/DATA0000/00000150.PDF.
ชญานี รัตนรอด. (2550). การใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท.วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไทยรัฐ. (2561). อนุสาร อ.ส.ท. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน, 2564. จาก
https://www.thairath.co.th/news/politic/1231466.
นันทา ทองทวีวัฒนะ และคณะ. (2557). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในบทโฆษณาในอนุสารอ.ส.ท.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22 (40), 199–216.
บ้านและสวน. (2019). [DAILY IDEA] แต่งบ้านสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ ดิบเท่ นิ่ง และเรียบง่าย. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 15 กรกฎาคม, 2565. จาก
https://www.baanlaesuan.com/38823/design/industrial-loft-design.
ปิยณัฐ ธนานุคณ.(2560). การแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวตามปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแรงจูงใจในการ
ท่องเที่ยวแบบเดินทางด้วยตนเอง.การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ส่องไลฟ์สไตล์ “การท่องเที่ยวแบบ Gen X Y Z” Gen X: เที่ยวเพื่อพักผ่อน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม, 2565 จาก
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000027397.
พรพิลาส วงศ์เจริญ. (2557). ประโยคและข้อความภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาวดี สายสุวรรณ. (2561). การเลือกภาษาในสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อนิตยสารของไทย. วารสาร
มนุษยศาสตร์, 25(2), 232-257.
มัญชุสา อังคะนาวิน. (2547). ปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน
รุ่งฤดี แผลงศร. (2563). การใช้ภาพพจน์ในนิตยสารท่องเที่ยว.วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,
(1), 1-18
รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร. (2552). วัจนลีลาศาสตร์. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒนา แช่มวงษ์ และคณะ. (2558). กลวิธีการใช้ภาษาในวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย.
งานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วัฒนา แช่มวงษ์. (2556). การเขียนบทความ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วีรวัลย์ ปิ่นชุมพลแสง และ กอบกูล จันทรโคลิกา. (2561). การศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าพักโรงแรม
และรีสอร์ทของประเทศไทยตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก. วารสาร RMUTL Global Business and Economics, 13 (2), 35-56.
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวใน
ประเทศไทย (ไตรมาสที่ 4 2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน, 2561. จาก
http://www.thailandtourismcouncil.org/wp-content/uploads/2018/01/AW_TTCI_2017-04_20180105-single.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ. (2561). เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2561 และแนวโน้ม
ปี 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม,2561.จาก:
http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=7658&filename=index.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทยประจำปี
พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน, 2564. จาก
https://www.mots.go.th/download/article/article_20190516131031.pdf
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อิทธิพันธ์ พัฒนานุพงษ์. (2539). บทบาทของอนุสาร อ.ส.ท. ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย. วิทยานิพนธ์
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Brandbuffet. (2562). Gen Z ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและท่องเที่ยว มากกว่าการศึกษา การมีบ้าน
หรือความมั่นคงหลังเกษียณ. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม, 2565 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/09/gen-z-unpacked-about-interest-and-insight-survey/
Baero. (มปป.). บ้านอบอุ่น Style English Country. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน, 2564. จาก http://www.bareo-isyss.com.
Expedia. (2561). รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพักโฮสเทล. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม, 2563. จาก
https://travelblog.expedia.co.th/hotels-review/bd10_january18/
Taokaemai. (มปป.). 11 เคล็ดลับ เขียนบทความรีวิวแหล่งท่องเที่ยว รีวิวที่พัก รีวิวโรงแรม รีวิว
รีสอร์ทอย่างไรให้คนอยากมาเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม, 2564 จาก https://taokaemai.com
ภาษาอังกฤษ
Baker, Will. (2012). English as lingua franca in Thailand: Characterisations and Implications.
English in Practice.1,1-10.
Halliday,M.A.K. and Matthiessen,Christian.(2014). Introduction to Functional Grammar.4th ed.
New York : Routledge.
Lesley, Jeffries and Mcintyre, Dan. (2010). Stylistics. New York: Cambridge University Press.