การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG: กรณีวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

Community Product Development by the BCG Economy Model: A Case of Banana Processing Community Enterprise, Na Ngio Sub-district, Sang Khom District, Nong Khai Province

Authors

  • ชุติพงศ์ คงสันเทียะ Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University
  • ชฎล นาคใหม่

Keywords:

BCG Economy, Product Development, Banana Processing Community Enterprise, Na Ngio, Nong Khai

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย และ (2) ออกแบบและสร้างกิจกรรมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย บ้านดงป่าเปลือย หมู่ 6 ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นรูปแบบวิจัยเชิงพัฒนา โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลในหลายรูปแบบ ได้แก่ การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และมีการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล

          ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนมีศักยภาพด้านกำลังการผลิต วิสัยทัศน์ผู้นำ และมีโอกาสด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ กระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ส่วนจุดอ่อนและอุปสรรคคือการขาดความรู้และทักษะการแปรรูป คู่แข่งการตลาด และต้นทุนที่เพิ่มสูง ทำให้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้ง ได้แก่ การให้ความรู้การแปรรูปกล้วยเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และการแปรรูปขยะ การติดตามและประเมินผลพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์และได้ผลลัพธ์ออกมา 2 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ ไซเดอร์กล้วยสังคม และน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วย โดยอยู่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ครบทุกหลักการ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว

 

คำสำคัญ: แนวคิดเศรษฐกิจ BCG, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย, อำเภอสังคม, หนองคาย

Author Biographies

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ, Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University

Department of Social Development, Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University

ชฎล นาคใหม่

Department of Geo-informatics for Development, Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University

References

-ชุติพงศ์ คงสันเทียะ, ชฎล นาคใหม่ และ วิชญ์ จอมวิญญาณ์. (2564). รายงานการจัดเวทีสรุปบทเรียน ประสบการณ์ และผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. อุดรธานี: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

-ทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, กรม. (2563, 22 กันยายน). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยตากสังคม ทะเบียน สช. 63100149.

-ราชา ธงภักดิ์ และ เพ็ญสิริ ชาตินิยม. (2565). การออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากสภาวะเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3): 190-203.

-วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และ กนกวรรณ์ ลี้โรจนาประภา. (2561). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและเมททริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(3): 15-26.

-สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ https://www.bcg.in.th/bcg-by-nstda/ วันที่สืบค้น 13 ตุลาคม 2565.

-สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

-สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางิ้ว. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) องค์การบริหารส่วนตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางิ้ว.

-สุจินต์ สิมารักษ์ และ สุเกสินี สุภธีระ. (2530). การประเมินชนบทสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน. ขอนแก่น: โครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ หลุดกับดัก ขยับสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

-อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวง. (2564). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

-Breunig, H. M., J. Amirebrahimi, S. Smith and C. D. Scown. (2019). Role of Digestate and Biochar in Carbon-negative Bioenergy. Journal of Environmental Science and Technology, 53(22): 12989-12998.

-Kumagai, Shotoro. (2022). BCG (Bio-Circular-Green) economy in Thailand. Pacific Business and Industries, 22(84), 2-31.

-Skar, S.L.G., R.Pineda-Martos, A. Timpe, B. Polling, K. Bohn, M.Kulvik and C. Delgado. (2020). Urban agriculture as a keystone contribution towards securing sustainable and healthy development for cities in the future. Journal of Blue-Green Systems, 2(1): 1-27.

-Thailand Board of Investment. (2021). Thailand’s Bio-Circular-Green Economy: Living up to Global Challenges. Thailand Investment Review Vol. 31. Bangkok: The office of the Board of Investment (BOI).

-อนงค์ หำพิลา (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย). สัมภาษณ์, 25 กันยายน 2565, ศาลาประชาคมบ้านดงป่าเปลือย หมู่ 6 ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย.

Downloads

Published

2023-04-24

How to Cite

คงสันเทียะ ช., & นาคใหม่ ช. (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG: กรณีวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย: Community Product Development by the BCG Economy Model: A Case of Banana Processing Community Enterprise, Na Ngio Sub-district, Sang Khom District, Nong Khai Province. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 40(1), 130–151. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/262767

Issue

Section

บทความวิจัย