การขยายตัวของปาล์มน้ำมันในฐานะพืชฟองสบู่และความขัดแย้งในที่ดินระหว่างรัฐ-เอกชน-ชาวบ้านในภาคใต้ของประเทศไทย
Palm Oil as a Boom Crop and Land Conflicts between State-private Sectors-villagers in Southern Thailand
Keywords:
oil palm, boom crops, powers of exclusion, land controlAbstract
บทคัดย่อบทความนี้ใช้กรอบแนวคิดเรื่อง“พืชฟองสบู่ (boom crops)” และ “อำนาจในการกีดกัน (powers of exclusion)” วิเคราะห์การขยายตัวของปาล์มน้ำมันและความขัดแย้งในที่ดินในภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกกำกับที่ดินทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ในองค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรไร้ที่ดิน ในจังหวัดกระบี่ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี บทความให้ข้อมูลในเรื่องปัญหาการกำกับดูแลที่ดินและปัญหาความไม่เป็นธรรมของรัฐในจัดการกับการละเมิดกฎหมายและการดูแลที่ดินที่หมดสัญญาเช่าหรือสัมปทาน นอกเหนือจากการเข้าไม่ถึงที่ดินอันเนื่องจากความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างแล้ว ผู้เขียนเสนอให้พิจารณาปรากฎการณ์ “การกีดกันในละแวกบ้าน (intimate exclusion)” หรือการสูญเสียและเข้าไม่ถึงที่ดินที่เกิดจากญาติ เพื่อนบ้าน หรือคนรู้จักภายในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงที่ต่างมีความสนิทสนมกันเป็นผู้กีดกัน และยังสะท้อนให้เห็นบทบาทของเกษตรกรและผู้ถือครองที่ดินรายย่อยกลุ่มต่างๆ ที่ต่างพยายามจะยึดครองที่ดินเพื่อความมั่นคงในเรื่องการมีที่ดินทำกิน เพื่อจะมีส่วนร่วมในการปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดเช่นเดียวกับบริษัทและผู้ลงทุนรายใหญ่
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน, พืชฟองสบู่, อำนาจในการกีดกัน, การควบคุมที่ดิน
References
รายการอ้างอิง
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2535). บทที่ 1 ผลการศึกษาและข้อเสนอทางนโยบาย ใน เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
(บรรณาธิการ), วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า (หน้า 9-38). กรุงเทพฯ:
เคล็ดไทย.
ชลิดา บัณฑุวงศ์ และอนุสรณ์ อุณโณ. (2546). พลวัศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันออก.
กรุงเทพฯ: วิถีทัศน์.
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์. (2563). การกำกับดูแลที่ดิน การเมืองในชีวิตประจำวัน และโครงการ
พัฒนาพลังงานลมบนพื้นที่ ส.ป.ก.จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
(1), 161-192.
นรพัชร์ อัศววัลลภ และสัณหณัฐ เศรษฐศักดาศิริ. (2560). ความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ ของประเทศ.
วารสารการเงินการคลัง (กรกฎาคม – กันยายน), 16-22.
ไทยพีบีเอส. (2555). ความขัดแย้งเพื่อแย่งที่ดินทำกินใน จ.กระบี่. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563, จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/127672
ไทยพีบีเอส. (2563). ชวนจับตานัดพิพากษาคดีลอบสังหารนักปกป้องสิทธิฯ รายที่ 6 ของ สกต. 26 ส.ค.นี้
สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563, จาก https://thecitizen.plus/node/45308
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). ปัญหาท้าทายของสังคมไทย ใครจะได้อะไร? อย่างไร?. เอกสารประกอบการสัมมนา
วิชาการประจำปี 2536 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ประชาไท. (2549). รายงานพิเศษเปิดโปงปมที่ดินสุราษฎร์ กระบี่. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก
https://prachatai.com/journal/2006/11/10702
ผู้จัดการออนไลน์. (2564). คนร้ายบุกยิงแกนนำเรียกร้องพื้นที่สวนปาล์มหมดสัมปทานดับคาสวนยาง. สืบค้น
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://mgronline.com/south/detail/9640000042828
วิจิตร ว่องวารีทิพย์ (2535). ลู่ทางได้โอกาสส่งออกและผลกระทบจากการมีเขตการค้าอาเซียน (สำหรับ
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย.
ศยามล ไกยูรวงศ์ (บรรณาธิการ). (2549).เปิดโปงความจริงการตรวจสอบสัญญาเช่าสวนป่า. สุราษฎร์ธานี:
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้.
สงบ ส่งเมือง. (2546). เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ในรอบห้าทศวรรษที่ผ่านมา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถี
ทรรศน์.
สุนี ไชยรส. (2549). บทนำ ใน คณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ รายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า ปี 2545-2548, (หน้า7-9).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก.
สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ .(2562). พื้นที่ป่าไม้ ตามโครงการจัดทำสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2562.
สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.forest.go.th/land/category/paper/
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2546). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 สิงหาคม 2546. สืบค้นเมื่อวันที่
พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.cabinet.soc.go.th ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
Borras, JR, S.M. & Franco, J.C. (2012). Global Land Grabbing and Trajectories of Agrarian
Change: A Preliminary Analysis. Journal of Agrarian Change, 12 (1), 34-59.
Borras, S. M., Franco, J. C., Isakson, S. R., Levidow, L., & Vervest, P. (2016). The rise of flex
crops and commodities: implications for research. The Journal of Peasant Studies, 43(1), 93-115.
Cramb, R. A. (2013). Palmed off: incentive problems with joint-venture schemes for oil palm
development on customary land. World Development, 43, 84-99.
Cramb, R. A. & Mccarthy, F. (2016) The oil palm complex: smallholders, agribusiness and
the state in Indonesia and Malaysia. Singapore: NUS Press.
Dallinger, J. (2011). Oil palm development in Thailand: economic, social and
environmental considerations in Colchester, M. & Chao, S. (eds.), Oil Palm
Expansion in South East Asia Tre nds and implications for local communities
and indigenous peoples (pp. 24-51). London: Forest Peoples Programme.
Hall, D. (2011). Land grabs, land control, and Southeast Asian crop booms. The Journal of
Peasant Studies, 38(4), 837-857.
Hall, D., Hirsch, P, Li, Tania, M. (2011). Powers of Exclusion: Land Dilemmas in
Southeast Asia. Singapore: NUS Press.
Jiwan, N. (2012) The Political Ecology of the Indonesian Palm Oil Industry in Ply, O &
Bhattacharya, J. (eds.), The Palm Oil Controversy in Southeast Asia:
A Transnational Perspective (pp. 1-24 ). Singapore: Institute of
Southeast Asian Studies.
Li, T.M. (2014). Land's End: Capitalist Relations on an Indigenous Frontier. Durham and
London: Duke University Press.
ผู้ให้สัมภาษณ์
เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ [สัมภาษณ์]. 5 มกราคม 2563.
เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [สัมภาษณ์]. 20 กรกฎาคม 2563.
เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร [สัมภาษณ์]. 19 ตุลาคม 2563.
เกษตรกรในชุมชนที่กำลังต่อสู้เรื่องที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนที่ 1 [สัมภาษณ์]. 15 พฤษภาคม 2563.
เกษตรกรในชุมชนที่กำลังต่อสู้เรื่องที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนที่ 2 [สัมภาษณ์]. 20 ตุลาคม 2563.
โกเต็ง (นามสมมติ) เจ้าของธุรกิจรีสอร์ทแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ [สัมภาษณ์]. 9 มกราคม 2563.
เจ้าหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) [สัมภาษณ์]. 14 ตุลาคม 2563)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีข้อพิพาทเรื่องสวนปาล์มในจังหวัดชุมพร [สัมภาษณ์]. 26 มีนาคม 2564.
อดีตเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของกรมป่าไม้ที่ประจำอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ [สัมภาษณ์]. 26 มีนาคม 2564.