ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทยของยูทูบเบอร์ลาว
Error of Thai Language Use by Lao YouTubers
Keywords:
Language error, Second language learning, Thai language, Lao language, Lao YouTuberAbstract
บทคัดย่อ
การใช้ภาษาที่สองย่อมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้เป็นปกติในการพูดในชีวิตประจำวันของชาวต่างชาติ รวมถึง ยูทูบเบอร์ชาวลาวที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการใช้ภาษาไทยของ ยูทูบเบอร์ชาวลาวจำนวน 5 คน จาก 5 ช่อง ที่เผยแพร่บนยูทูบในช่วงปี พ.ศ. 2565-2566 จากคลิปวีดีโอจำนวน 50 คลิป ที่มีการพูดภาษาไทยเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอรายการ โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการเรียนภาษาที่สองเป็นกรอบการวิจัย ซึ่งมุ่งวิเคราะห์การออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะต้นควบกล้ำ รวมถึงข้อผิดพลาดของการใช้คำศัพท์ และสำนวน
ผลการวิจัยพบว่า ยูทูบเบอร์ชาวลาวมีข้อผิดพลาดในการออกเสียงพยัญชนะต้นภาษาไทยบางเสียง โดยใช้เสียงปฏิภาคพยัญชนะต้นในภาษาลาวแทนภาษาไทย มีข้อผิดพลาดด้านการใช้คำศัพท์ โดยพบทุกประเภทของคำศัพท์ ทั้งคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำช่วยกริยา คำลงท้าย และคำถาม นอกจากนี้ยังพบข้อผิดพลาดด้านการใช้สำนวน สาเหตุเกิดจากการแทรกแซงภาษาแม่ในการพูดภาษาที่สอง และไม่ชำนาญภาษาไทยมากพอ เพราะคนลาวส่วนใหญ่เรียนรู้ภาษาไทยด้วยตนเอง ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวลาว ซึ่งประเทศไทยและประเทศลาวมีความใกล้ชิดด้านภาษาและประเทศที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกัน
คำสำคัญ: การเรียนรู้ภาษาที่สอง, ข้อผิดพลาดทางภาษา, ภาษาไทย, ภาษาลาว, ยูทูบเบอร์ชาวลาว
References
เอกสารอ้างอิง
ชุติมา ชมดี. (2539). การเขียนคำควบกล้ำ (ล) ของนักศึกษาลาว. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 15: 59-65.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2552). สถานภาพการศึกษาภาษาลาวของคนไทย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 5(2): 109-137.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 7(3):
-134.
รัตนา จันทร์เทาว์ และ สาริสา อุ่นทานนท์. (2550). ข้อบกพร่องการเขียนภาษาไทยของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 3(2): 127-147.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2560). พัฒนาการภาษาลาว. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วริษา โอสถานนท์. (2541). การเขียนสะกดคำบางกลุ่มในภาษาลาวที่ใช้ไม้เอกและไม้โทแตกต่างจากภาษาไทย.
วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 16: 31-37.
วิภาวรรณ อยู่เย็น. (2540). เปรียบเทียบภาษาไทยและภาษาลาว: ข้อบกพร่องของนักศึกษาในการใช้ภาษาไทย.
วารสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 18: 172-183.
วีระพงศ์ มีสถาน. (2542). สถานภาพอักขรวิธีลาว. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 18: 19-27.
สาริสา อุ่นทานนท์. (2548). สถานภาพการเรียนการสอนภาษาลาว. ภาควิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 23(1): 18-33.
สุริยา รัตนกุล. (2537). ฃ ฅ หายไปไหน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท.
Cook, V. (2003). Effect of Second Language on the First. Clevedon: Multilingual Master.
Enfield, Nick J. (2002). How to Define ‘Lao’ ‘Thai’ and ‘Isan’ Languages? : A View from
Linguistic Science. Thai Culture. 12(1): 62-66.
James, C. (1998). Errors in language learning and use: Exploring error analysis. London:Longman
Monnipha Sompong. (2014). Error Analysis. Thamasat Review. 16(2):109-127.
Tono, Y. (2003). Learner corpora: Design, development and applications. Proceedings of the corpus linguistics 2003 conference. Lancaster, United Kingdom, 28-31,March, 800-809.
Zalfadli A.A; Bukhari D. and Syafira Y. (2019). Second language interference towards language
Use of Japanese learners. Indonesian Journal of English Language Teaching and Applied Linguistics. 4(1): 159-176.