รูปแบบการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถาบันการศึกษาผ่านการนำเสนอของ สื่อดิจิทัลไทย

Discrimination Patterns Targeting LGBTQIAN+ Persons in Thai Educational Institutions through Digital Media Portrayals

Authors

  • ปวีณ วรรคสังข์ Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University
  • ภาณุ สุพพัตกุล Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

Keywords:

Gender Discrimination, LGBTQIAN , Thai Educational Institutions

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของการเลือกปฏิบัติทางเพศต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถาบันการศึกษาที่ปรากฏผ่านการนำเสนอของสื่อดิจิทัลไทย และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเพศต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถาบันการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้น 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ 1) เว็บไซต์กูเกิ้ลนิวส์ 2) ข้อความทวีตที่เป็นสาธารณะในทวิตเตอร์หรือ “X” และ 3) ข้อมูลเปิดจากเว็บไซต์ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง 2565 กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ปรากฏในการนำเสนอของสื่อดิจิทัลไทย ผลการวิจัย พบว่า สถาบันการศึกษานั้นมีรูปแบบการเลือกปฏิบัติทางเพศที่สามารถจำแนกใน 2 ระดับ คือ ระดับสถาบัน (institutional level) โดยมีกฎที่ไม่สนับสนุนให้ได้รับสิทธิ์อย่างเท่าเทียม และระดับระหว่างบุคคล (interpersonal level) โดยเป็นการจัดหมวดหมู่เพศของผู้เรียนโดยครูอาจารย์ และการต่อต้านความหลากหลายทางเพศในพื้นที่สาธารณะของบุคลากรทางการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ในระดับโครงสร้างของสถาบัน พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งยังจัดหมวดหมู่แบบหญิงชายอย่างเข้มงวดผ่านกฎต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงต่อความสำเร็จของการกระทำการทางเพศภาวะ (Doing Gender) และบุคคลข้ามเพศมักถูกทำให้เป็นชายขอบมากกว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศกลุ่มอื่น เช่น เกย์ ดี้ ที่มีการแสดงออกทางเพศภาวะ (Gender Display) สอดคล้องกับเพศสรีระ ส่วนระดับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พบว่า ครูอาจารย์บางคนเชื่อว่าตนมีอำนาจจัดหมวดหมู่เพศของผู้เรียนตามกรอบเพศแบบจารีตได้ ด้วยการแสดงความคิดเชิงต่อต้านและลงโทษ สะท้อนถึงความเข้มแข็งของบรรทัดฐานรักต่างเพศภายในโครงสร้างสถาบันการศึกษาไทย ข้อเสนอแนะนั้นควรสนับสนุนการแสดงออกตามเพศภาวะและผลักดันการแบ่งปันประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติทางเพศของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นการตั้งคำถามต่อกิจกรรมอันเข้าข่ายที่นำไปสู่การลดทอนอำนาจของโครงสร้างดังกล่าวต่อไป

 

คำสำคัญ: รูปแบบการเลือกปฏิบัติทางเพศ, ผู้มีความหลากหลายทางเพศ, สถาบันการศึกษาไทย, สื่อดิจิทัล

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). คำวินิจฉัยย่อคณะกรรมการวินิจฉัยและเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2559-2562. กรุงเทพฯ : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.

ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง. (2557). การเมืองเรื่องคน (ที่ถูกทำให้) “ไม่” ธรรมดา: มองความเป็นหญิงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านกรอบเควียร. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 44(2), 71–90. http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/df5a4bec060bac5c6279de27f551d54e

ติโหมะ ตะปะหนิ โอะหยะเน็น, โคดี ฟรีแมน, ปริยศ กิตติธีระศักดิ์, นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์, สกล โสภิตอาชาศักดิ์, กุลวดี ทองไพบูลย์, กวิน เทียนสุวรรณ, และ พีราณี ศุภลักษณ์. (2566). สุขภาพจิตและสุขภาวะของเด็กและเยาวชนหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย.

ไทยพีบีเอส. (2563, 19 มิถุนายน). กังขา! ระเบียบโรงเรียนเบี่ยงเบนทางเพศเข้าข่ายถูก “ภาคทัณฑ์”. ไทยพีบีเอส. https://www.thaipbs.or.th/news/content/293779

ข่าวสดออนไลน์. (2565, 13 กันยายน). สู้สุดชีวิตแล้ว! บัณฑิตแจงยิบถูกตัดผมแหว่ง สาบานให้ตาย อาจารย์ไม่เคยบอก ม.เรียกคุยวันนี้. ข่าวสดออนไลน์, 1. https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7262616

สนุก. (2565, 4 มิถุนายน). แชร์สนั่น คลิปครูพูดถึงทรงผมนักเรียนหญิง มีแค่ 2 แบบ แถมสั่งห้ามเป็นทอม. สนุก. https://www.sanook.com/news/8571466/

สยามรัฐออนไลน์. (2565, 12 พฤศจิกายน). แชร์ว่อนโซเชียลครูชายโรงเรียนดังขอนแก่นใช้กรรไกรตัดผมนักเรียนหญิงจนเกิดคำถามเกินไปหรือไม่. สยามรัฐออนไลน์, 1. https://siamrath.co.th/n/398748

นักเรียนเลว [@BadStudent_]. (5 กรกฎาคม 2563). Breaking: โรงเรียนชื่อดังสมุทรปราการ ตั้งเกณฑ์รางวัลนักเรียนที่ทำคุณงามความดีให้โรงเรียน ต้องไม่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ นั่นเท่ากับ [แนบภาพ][ทวีต]. ทวิตเตอร์. https://twitter.com/BadStudent_/status/1279769297598869504

ภคพล เส้นขาว. (2563). การเลือกปฏิบัติต่อสตรีข้ามเพศในสังคมไทย. วารสารามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 39(1), 149–168. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/244706

วัฒณี ภูวทิศ. (2554). การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์และผลกระทบเชิงจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสารของผู้สื่อข่าว. วารสารนักบริหาร, 31(1), 166–174. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/index.html

วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 135–144. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9019

Casey, L. S., Reisner, S. L., Findling, M. G., Blendon, R. J., Benson, J. M., Sayde, J. M., & Miller, C. (2019). Discrimination in the United States: Experiences of lesbian, gay, bisexual, transgender, and queer Americans. Health Services Research, 54(S2), 1454–1466. https://doi.org/10.1111/1475-6773.13229

de Lind van Wijngaarden, J. W., & Fongkaew, K. (2020). “Being Born like This, I Have No Right to Make Anybody Listen to Me”: Understanding Different Forms of Stigma among Thai Transgender Women Living with HIV in Thailand. Journal of Homosexuality, 68(14), 2533–2550. https://doi.org/10.1080/00918369.2020.1809892

Garfinkel, H. (1967). Studies in Ethnomethodology. New Jersey: Prentice-Hall.

Lee, C., & Ostergard, R. L. (2017). Measuring Discrimination Against LGBTQ People: A Cross-National Analysis. Human Rights Quarterly, 39(1), 37–72. https://doi.org/10.1353/hrq.2017.0001

Pyke, K. D. (1996). CLASS-BASED MASCULINITIES: The Interdependence of Gender, Class, and Interpersonal Power. Gender & Society, 10(5), 527-549. https://doi.org/10.1177/089124396010005003

Shepherd, S. (2016). Gender performativity. In The Cambridge Introduction to Performance Theory (pp. 184–189). Cambridge: Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/CBO9781139600194.023

Tajfel, H., & Turner, J. C. (2004). The Social Identity Theory of Intergroup Behavior. In J. T. Jost & J. Sidanius (Eds.), Political psychology: Key readings (pp. 276–293). New York: Psychology Press. https://doi.org/10.4324/9780203505984

West, C., & Zimmerman, D. H. (1987). Doing Gender. Gender and Society, 1(2), 125–151. https://doi.org/10.1177/089124328700100200

Downloads

Published

2024-08-27

How to Cite

วรรคสังข์ ป. ., & สุพพัตกุล ภ. (2024). รูปแบบการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถาบันการศึกษาผ่านการนำเสนอของ สื่อดิจิทัลไทย: Discrimination Patterns Targeting LGBTQIAN+ Persons in Thai Educational Institutions through Digital Media Portrayals. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(2), 82–109. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/271247

Issue

Section

บทความวิจัย