การศึกษานวนิยายเรื่อง แผลเก่า โดยใช้ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์แนวจิตวิทยา
A Psychoanalytic Study of Plae Khao
Keywords:
Psychoanalytic literary criticism, Plae KhaoAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายเรื่อง แผลเก่า ของไม้ เมืองเดิม โดยใช้ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์แนวจิตวิทยา ผลการศึกษาพบว่า ในแง่ของโครงเรื่อง โครงเรื่องของ แผลเก่า เป็นโครงเรื่องที่แสดงถึงความหวาดกลัวต่อความเหนือกว่าของสังคมอารยะหรือสังคมเมืองของเพศชายซึ่งกำลังสูญเสียอำนาจในพื้นที่ที่เขาเคยเป็นผู้ครอบครอง ในแง่ของตัวละครเห็นได้ชัดว่าตัวเอกชายถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของความเป็นชายและความเป็นนักเลงในระดับที่เข้มข้นไปจนถึงขั้นล้นเกิน อาจวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงออกของกลไกการป้องกันตัวชนิดการแสดงปฏิกิริยาแบบตรงกันข้าม ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของความกลัวที่มีต่อความเหนือกว่าของบิดาซึ่งแสดงออกในรูปของความทันสมัยและความเป็นอารยะของชาวกรุงที่ชนบทไม่อาจต้านทาน ในประเด็นสัญลักษณ์พบว่าศาลเจ้าพ่อพระไทรคือจุดรวมศูนย์ทางสัญลักษณ์ของเรื่อง พระไทรคือสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย การที่ตัวเอกเคารพบูชาพระไทรในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแง่หนึ่งจึงหมายถึงความสำนึกในความยิ่งใหญ่ของความเป็นเพศชาย ส่วนการเคารพบูชาต่อแพรแดงเปื้อนเลือดก็สื่อถึงการเชิดชูต่อการได้ครอบครองพรหมจรรย์ เนื้อหาทางจิตวิทยาประเด็นสุดท้ายคือสัญชาตญาณมุ่งตาย เห็นได้ว่าพฤติกรรมของตัวละครในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการคิดฆ่าตัวตาย ความเป็นนักเลง หรือแม้แต่ยามตกอยู่ในห้วงของความรัก ก็มีสัญชาตญาณมุ่งตายเป็นทั้งแรงขับและเป้าหมาย การที่สัญชาตญาณมุ่งตายปรากฏในพฤติกรรมของตัวละครนี้สอดคล้องกับการที่ตัวบทเป็นวรรณกรรมประเภทโศกนาฏกรรม ทั้งนี้เพราะนวนิยายประเภทนี้สร้างความรื่นรมย์ด้วยการผ่านอารมณ์โศก แต่ก็เป็นการเสพอารมณ์ไปพร้อมกับความตระหนักรู้ว่าตัวบทนั้นมีกลไกการสร้างอารมณ์อื่นมาชดเชย
คำสำคัญ: ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์แนวจิตวิทยา, แผลเก่า
References
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2558). “แผลเก่า และแผลจากที่ฝากไว้ก่อน” ใน อ่านใหม่ . กรุงเทพฯ : อ่าน.
ทนงศ์ จันทะมาตย์ และธัญญา สังขพันธานนท์. (2562). นัยเชิงนิเวศในนวนิยายแนวลูกทุ่งยุคแรก ศึกษาจากนวนิยายเรื่องแผลเก่า ของไม้ เมืองเดิม. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 25 (3), กรกฎาคม-กันยายน.
ไม้ เมืองเดิม. (2529). แผลเก่า. (ไม่ปรากฏครั้งที่พิมพ์) . กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร.
รังสิมา กุลพัฒน์. (2539). “แผลเก่า: จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิษา ภูยาธร. (2561) “ลูกผู้ชายชาวบ้านในวรรณกรรมของไม้ เมืองเดิม”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2544). โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
Freud, Sigmund. (1908). Creative Writers and Day-dreaming. https://static1.squarespace .com/static/5441df7ee4b02f59465d2869/t/588e9620e6f2e152d3ebcffc/1485739554918/Freud+-+Creative+Writers+and+Day+Dreaming%281%29.pdf
klages, Mary. (2017). Literary Theory For Beginners. United States of America. For Beginners LLC.
Sugarman, Susan. (2016). Beyond the pleasure principle: Beyond the Pleasure Principle (1920). https://www.cambridge.org/core/books/abs/what-freud-really-meant/beyond
-the-pleasure-principle-beyond-the-pleasure-principle-1920/0984E1A3451EF279A8
DBDF2316E09422
www.en.wikipedia.org. (2023A). Metaphor and metonymy. https://en. wikipedia.org/wiki/C
ondensation_(psychology)#cite_ref-6
www.en.wikipedia.org. (2023B). Death drive. https://en.wikipedia.org/wiki/Death_drive#
cite_note-17