การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

The Community Tourism Potential Development of Bang Sawan Community Phrasaeng District, Suratthani Province

Authors

  • วิภารัตน์ พลายแก้ว Suratthani Rajabhat University

Keywords:

การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, สุราษฎร์ธานี

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน และศึกษากลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลบางสวรรค์ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ กลุ่มองค์กรบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มประชาชนในพื้นที่ โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และกระบวนการ AIC โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ไม่แพร่หลายชุมชนขาดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม ภาครัฐไม่ให้ความสำคัญด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชน และต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้บริบทด้านพื้นที่มีความหลากหลายทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี พื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นเกษตรกรรมสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ประชาชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

          กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า ด้านกลยุทธ์การสร้างความสำคัญ ชุมชนต้องเสริมสร้างองค์กรโดยสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน มีการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทางชุมชน เน้นธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชนภายใต้การบริหารจัดการที่ร่วมกันวางแผนงาน จัดสรรงบประมาณ กระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา เพื่อกระจายรายได้ สร้างอาชีพสู่ชุมชน ด้านกลยุทธ์การสร้างแนวทางพัฒนา ต้องมีแนวทางในการปรับปรุงภูมิทัศน์สร้างเอกลักษณ์โดดเด่นที่สามารถขยายขอบข่ายชุมชนไปยังกลุ่มต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชน มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร ด้านกลยุทธ์การสร้างแนวทางปฏิบัติต้องสร้างเครือข่ายบริการนักท่องเที่ยวโดยมีการประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ให้มีการจัดระบบการขนส่งที่สะดวกปลอดภัยได้มาตรฐาน และต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ซึ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของชุมชนต่อไป

 

คำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, สุราษฎร์ธานี

References

กระทรวงการท่องเที่ยว (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวปีพ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=625.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). Tourism Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต.สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-go-local/.

งานวิเคราะห์นโยบายและแผนองค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ. 2566- 2570) องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์. สุราษฎร์ธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์.

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษาบ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธิดาวรรณ ทองสามสี. (2558). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

นิพล เชื้อเมืองพาน, นิออน ศรีสมยง, ธรธร วชิรขจร, ใจนุช ประยูรชาติ และชินการ สมะลาภา. (2561). การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแหล่งน้ำพุร้อน หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อัจฉรา ศรีลาชัย, พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร และสุธี เสริฐศรี. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดย ชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านชากแง้ว จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Downloads

Published

2024-08-27

How to Cite

พลายแก้ว ว. . (2024). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี: The Community Tourism Potential Development of Bang Sawan Community Phrasaeng District, Suratthani Province. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(2), 28–57. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/272931

Issue

Section

บทความวิจัย