การสื่อความหมายเกี่ยวกับความตายในวรรณกรรมเรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่ายของลักษณ์ เกษมสุข

Interpretation of Death in the Literature Titled Treasure Island and The Rabbit Hole Written by Lak Kasemsuk

Authors

  • ธิดารัตน์ กาแก้ว
  • สมิทธ์ชาต์ พุมมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พัชลินจ์ จีนนุ่น miss

Keywords:

death, interpretation, life’s pursuits

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยเรื่องการสื่อความหมายเกี่ยวกับความตายในวรรณกรรมเรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่ายของลักษณ์ เกษมสุขมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อความหมายเกี่ยวกับความตายในวรรณกรรมเรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่ายของลักษณ์ เกษมสุข และกลวิธีการสื่อสารความหมายเกี่ยวกับความตายในวรรณกรรมเรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่ายของลักษณ์ เกษมสุข โดยใช้แนวคิดการสื่อความหมายและกลวิธีทางวรรณกรรมเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมของลักษณ์ เกษมสุข เรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่าย สื่อความหมายของความตายไว้ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. ความตายคือการหลุดพ้น 2. ความตายคือการย้ายร่าง 3. ความตายคือการเดินทาง และ 4. ความตายคือการหลับฝัน ผู้แต่งนำเสนอผ่านกลวิธีอันโดดเด่น 2 กลวิธี คือ การสื่อสารผ่านตัวละคร มีทั้งตัวละครเยาวชนที่เป็นผู้เรียนรู้เรื่องความตาย ตัวละครวัยทำงานที่อยู่ในสภาวะของคนอยากตาย ตัวละครพ่อแม่หรือคนรักที่ส่งอิทธิพลให้คนใกล้ตัวอยากตายหรือมีชีวิตอยู่ และตัวละครในสังคมที่ช่วยสร้างความหวังของการมีชีวิตอยู่ ต่อมาคือการสื่อสารผ่านฉาก มีทั้งฉากเมืองสื่อสารถึงพื้นที่แห่งความอ้างว้าง และความหวาดกลัว ฉากบ้านสื่อสารถึงพื้นที่แห่งการเติมเต็มการมีชีวิตอยู่ ฉากเกาะมหาสมบัติสื่อถึงพื้นที่แห่งการแสวงหาสมบัติอันล้ำค่าในชีวิต และฉากการอยู่ในโพรง สื่อสารถึงพื้นที่แห่งกับดักของตนเอง  ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความตาย และเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ความตาย, การสื่อความหมาย, การมีชีวิตอยู่

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอดิสัน

เพรส โพรดักส์.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500) (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์. (2559). การนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่างพ.ศ2547-2556. [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ปรานี วงษ์เทศ. (2534). พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

พีรดนย์ บุญมา. (2560). การวิเคราะห์สัญญะของนักกีฬาในภาพยนตร์โฆษณาไทย. [ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลักษณ์ เกษมสุข. (2558). เกาะมหาสมบัติ. กรุงเทพฯ :นานมีบุ๊คส์พับลิชชั่นส์.

ลักษณ์ เกษมสุข. (2559). วิเวกโพรงกระต่าย. กรุงเทพฯ :นานมีบุ๊คส์พับลิชชั่นส์.

วรัชยา เลี่ยวเทียนไชย และน้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล. (2564). ช้างบิน และกล่องตุ๊กตาใสกับจดหมายของพ่อ: ความตายในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. วารสารไทยศึกษา. 17(2), 127-150.

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2563). ทัศนคติที่มีต่อความหมายของชีวิตกับความตายของวัยรุ่น. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่12, (หน้า 2553-2560). วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

วาสนา ศรีรักษ์. (2542). ความตายของตัวละครเอกในวรรณคดีไทย. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรินันทา ทับอาษา. (2566). ความตายในนวนิยายด้วยรัก ความตาย และใจสลาย ของฮารูกิ มูราคามิ. วารสารปรัชญาและศาสนา. 7(2), 55-79.

อนุพงศ์ คำมา. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58(1),3-16.

Downloads

Published

2024-12-26

How to Cite

กาแก้ว ธ. ., พุมมา ส. ., & จีนนุ่น พ. (2024). การสื่อความหมายเกี่ยวกับความตายในวรรณกรรมเรื่องเกาะมหาสมบัติและวิเวกโพรงกระต่ายของลักษณ์ เกษมสุข : Interpretation of Death in the Literature Titled Treasure Island and The Rabbit Hole Written by Lak Kasemsuk. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(3), 21–47. retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/273696

Issue

Section

บทความวิจัย