ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน และเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี
Female Images In Myths Legends and Ballads In Buyei Ethnic Group
Keywords:
Female Images; Myths Legends and Ballads; Buyei Ethnic GroupAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน และเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี 2) วิเคราะห์ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน และเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากตำนาน นิทานและเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีที่เก็บรวบรวมและได้ตีพิมพ์เผยแพร่จำนวน 26 เล่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยใช้แนวคิดภาพลักษณ์ และแนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์แนวสตรีนิยมและเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีนั้นเป็นกระบวนการสร้างผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม คือสร้างผ่านโครงเรื่องของตำนาน นิทานและเพลง และสร้างผ่านตัวละคร 5 ตัวละคร ได้แก่ ตัวละครเทพธิดา ตัวละครแม่ ตัวละครวีรสตรี ตัวละครภรรยาและตัวละครหญิงพรหมจรรย์ ในส่วนของการวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีพบว่า มี 2 ภาพลักษณ์หลัก คือ 1) ภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่นิยามตามขนบ 2) ภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่นิยามผ่านผู้หญิง โดยมีภาพลักษณ์ร่างกาย ภาพลักษณ์พฤติกรรมและภาพลักษณ์นิสัยความเป็นหญิงในประกอบการสร้างภาพลักษณ์ของผู้หญิง
คำสำคัญ: ภาพลักษณ์ของผู้หญิง, ตัวละคร, ตำนาน นิทาน และเพลง, กลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี
References
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2537). วรรณคดีวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
เจตนา นาควัชระ. (2520). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม ๑ ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่านและสำนักพิมพ์วิภาษา.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์, สมหมาย รอดแป้น, & ภูมิใจ ณัฏฐ์ชาภา. (2014). ภาพลักษณ์ด้านลบของผู้หญิงในวรรณกรรมโบราณสันสกฤตพากย์ไทย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 31-40.
พัชราวลี จินนิกร. (2559). การศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผุ้ชนะสิบทิศ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2540). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8 ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติ ทิพนา. (2018). ภาพลักษณ์ผู้หญิงสมัยใหม่ในบทเพลงลูกทุ่งของใบเตย อาร์สยาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 25-35.
สมบัติ สมศรีพลอย, ธิดาวัฒน์ สุพุทธิกุล, & ภาสินี คำสีส. (2019). ภาพลักษณ์และบทบาทผู้หญิงจากเพลงลูกทุ่งในปี พ.ศ. 2557 – 2561. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 25-37.
สุนทร คำยอด. (2552). การสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงเหนือในนวนิยายของอำเภอไชยวรศิลป์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยบัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรจิรา อัจฉริยไพบูลย์. (2550). กลวิธีสร้างภาพลักษณ์ตัวละครชายในผู้ชนะสิบทิศ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
อรบุษย์ บุษย์เพชร, & พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2564). การประกอบสร้างภาพลักษณ์ของผู้หญิงสมัยใหม่ในวรรณกรรมเพลงของจ๊ะ อาร์สยาม. Paper presented at the การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12.
Huang Xiaoqiong. (2014). Female Images in Vietnam Ballads. (Master's degree of Asian and African Languages and Literature ), Guangxi University for Nationalities.
Kate Millett. (2016). Sexual politics. New York City: Columbia University Press.
Kenneth E. Bouliding. (1975). The Image. Chicago: University of Michigan Press.
Li Xia. (2020). The Female Images in the revolutionary Ballads. Journal of Yichun University, 42(4), 80-90.
Luce Irigaray. (2012). Speculum of the Other Woman. Zhenzhou: Henan University Press.
MGilbert Sandra Gubar Susan. (2020). The madwoman in the attic: The woman writer and the nineteenth-century literary imagination: Yale University Press.
Su Xiaohong. (2012). The Female Images in the Folklore literature of the Hmong ethnic group: A case study of the Folklore literature of the Hmong ethnic group in the northeastern region of Guizhou Province. (Thesis in Folklore), Guizhou University.
Simone de Beauvoir. (2011). The Second Sex. Shanghai: Shanghai Translation Publishing House.
Wang Zihua. (2004). The Female Images in the Myths in ethnic groups of Yunnan Province. Journal of Yunnan University for Nationalities, 21(1), 76-79.
Xiang Tianhua. (2013). The Female Images in the Love Legends of four books. Journal of Xichang College Social Science Edition, 15(1), 99-102.
Yuhao. (2013). The Female Images in the Ballads Nv Shu. Journal of Eastern Liaoning University (Social Sciences ), 15(1), 99-102.
Zhang Tuo. (2016). The Female Images and culture in the “Classic of Mountains and Seas”. Journal of Socience of Harbin Normal University, 1(32), 97-99.
Zhang Yanan. (2020). The Female Images in the Folklore literature of the Xibo ethnic group. Culture Journal, 6, 59-62.
Zhuo ma. (2008).The expatiation on lucinasineconcubite myth of Chinese National minority and feminism anthropology. (Thesis), Qinghai Normal University.