สำเนียงภาษาลาวอีสาน : การจัดกลุ่มภาษาลาวอีสานด้วยวรรณยุกต์

Accents of Isan-Lao: A Classification of the Isan-Lao Language with the Tone

Authors

  • ยุทธพร นาคสุข -
  • ศักดิ์นรินทร์ พิมพ์วันคำ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

Lao tone, Lao-Isan language, Lao-Isan accent

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มภาษาลาวอีสานในประเทศไทยด้วยเกณฑ์จำนวนวรรณยุกต์ การแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์ช่อง A และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ช่อง A4 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์นำมาจาก 2 แหล่ง คือ จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาลาวอีสานที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วจำนวน 92 ถิ่น และจากการเก็บข้อมูลภาคสนามของผู้วิจัยจำนวน 8 ถิ่น รวมทั้งหมด 100 ถิ่น ครอบคลุม 19 จังหวัดในภาคอีสาน เครื่องมือที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยนี้คือ ซอฟต์แวร์ SplitsTree5 แล้วสร้างแผนภาพเครือข่ายด้วยอัลกอริทึม Neighbor-Net ผลการศึกษาพบว่าสามารถจัดกลุ่มภาษาลาวอีสานออกได้เป็น 5 กลุ่มได้แก่ 1) ภาษาลาวอีสานสำเนียงร้อยเอ็ด มีการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A1-23-4 วรรณยุกต์ช่อง A4 มีสัทลักษณะกลางค่อนสูง-ตก [41] 2) ภาษาลาวอีสานสำเนียงชัยภูมิ มีการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A1-23-4 วรรณยุกต์ A4 มีสัทลักษณะกลาง-ขึ้น-ตก [343]  3) ภาษาลาวอีสานสำเนียงเลย มีการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A1-234 วรรณยุกต์ A4 มีสัทลักษณะกลางค่อนต่ำ-ขึ้น-ตก [232] 4) ภาษาลาวอีสานสำเนียงศรีสะเกษ มีการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A1-234 วรรณยุกต์ A4 มีสัทลักษณะกลาง-ขึ้น-ตก [343] และ 5) ภาษาลาวอีสานสำเนียงหนองคาย มีการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A123-4 วรรณยุกต์ A4 มีสัทลักษณะกลาง-ขึ้น-ตก [343]

คำสำคัญ : วรรณยุกต์ภาษาลาว, ภาษาลาวอีสาน, สำเนียงลาวอีสาน

References

ภาษาไทย

ธันยธรณ์ อ่อนศรีไพรและศุภกิต บัวขาว. (2558). “การแปลของวรรณยุกต์ภาษาเลยใน 6 อําเภอ : วังสะพุง

ภูกระดึง ภูหลวง เอราวัณ ผาขาว และหนองหิน. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 80-99.

ธีระพันธ์ ล. ทองคำ.(2559). ผ้าทอมือของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวและกะเหรี่ยงโป อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ : กรณีศึกษาภาษากลุ่มลาว. สาขาวิชาภาษาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์. (2564). การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 38(2), 70-106.

วิชญะ ศรีพิพัฒนกุล. (2557). วรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ใน 5 ภาษาชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต) ภาควิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวพร ฮาซันนารี. (2543) การศึกษาระบบเสียงในภาษาลาวหลวงพระบาง : ศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาลาวครั่งลุ่มน้ำท่าจีนและภาษาลาวด่านซ้าย . มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ.

ศุภกิต บัวขาว. (2561). การแปรของวรรณยุกต์ภาษาเลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 35 (2), 304-330.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). ประชากร จำแนกตามภาษาที่ใช้พูดในครัวเรือน เพศ และเขตการปกครอง. สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 เมษายน 2567, จาก https://www.nso.g

สิรพัชญ์ หาญนอก. (2563). ระบบเสียงและการจัดกลุ่มทางเชื้อสายของภาษาไทบ้านภูแล่นช้าง ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สาขาภาษาไทย.

ภาษาอังกฤษ

Brown, J.M. (1965). From Ancient Thai to Modern Dialects. Bangkok: Social Science Association Press.

Bryant D, Moulton V. (2004). Neighbor-net: an agglomerative method for the construction of phylogenetic networks. Molecular Biology and Evolution, 21(2), 255–65.

Dockum, Rikker. 2019. The tonal comparative method: Tai tone in historical perspective (Doctoral dissertation). New Haven, CT: Yale University.

Isan Creative Festival. (2566, 27 กุมภาพันธ์). 8 สำเนียงเสียงอีสาน. [Facebook]. สืบค้น 17 เมษายน 2567 https://web.facebook.com/isancreativefestival/

Lao Statistics Bureau. (2015). Results of Population and Housing Census 2015. สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 เมษายน 2567, จาก https://lao.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/PHC-ENG-FNAL-WEB_0.pdf

Li, F.K. (1966). The Relationship between tones and initials in Tai. In H.Z. Norman(ed), Studies in Comparative Austro-Asiatic Linguistics, pp.82-88.

Maddison, David R., David L. Swofford & Wayne P. Maddison. 1997. Nexus: An extensible file format for systematic information. Systematic Biology 46(4). 590–621.

Downloads

Published

2024-12-26

How to Cite

นาคสุข ย., & พิมพ์วันคำ ศ. . (2024). สำเนียงภาษาลาวอีสาน : การจัดกลุ่มภาษาลาวอีสานด้วยวรรณยุกต์ : Accents of Isan-Lao: A Classification of the Isan-Lao Language with the Tone. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(3), 48–79. retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/274449

Issue

Section

บทความวิจัย