องค์ประกอบความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นในชนบทอีสาน
Keywords:
ความอยู่ดีมีสุข, องค์ประกอบ, ครัวเรือนผู้ย้ายถิ่นAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นในชนบทอีสาน ใช้ข้อมูลโครงการวิจัยความอยู่ดีมีสุขของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา กรณีประเทศไทย(WEDThailand) เฉพาะครัวเรือนย้ายถิ่นในภาคอีสาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ตารางไขว้ และการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนผู้ย้ายถิ่นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนผู้ย้ายถิ่นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 มีฐานะดี เป็นเจ้าของที่ดินร้อยละ 78.9 ผู้ย้ายถิ่นทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่กลุ่มอายุ 15-24 ปี ครัวเรือนได้รับเงินส่งกลับจากผู้ย้ายถิ่นเพศหญิงมากกว่าชาย และครัวเรือนที่ได้รับเงินส่งกลับจากสมาชิกครัวเรือนที่ย้ายถิ่นประเมินว่ามีความสุขมากกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้รับเงินส่งกลับมาจากสมาชิกที่ย้ายถิ่นคิดเป็นร้อยละ 60.9 และ 69.1 ตามลำดับ ครัวเรือนย้ายถิ่นประเมินว่าไม่มีความสุขร้อยละ 34.2 ส่วนองค์ประกอบความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นในชนบทอีสานพบว่า มี 5 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่เป็น 1) ทรัพยากรทางกายภาพ 2) ทรัพยากรทางชีวภาพ 3) ทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคม 4) การมีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกิน และ 5) การมีจำนวนพื้นที่ทำกินทางการเกษตร องค์ประกอบทั้งหมดนี้สามารถอธิบายความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนผู้ย้ายถิ่นในชนบทอีสานได้ร้อยละ 54.34