สิงค์โปร์กับสงครามการแย่งชิงคนเก่งทั่วโลกสู่ “ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์” : บทเรียนและความท้าทายสู่แนวทางสร้าง “ศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย” ในบริบทอาเซียน

Authors

  • สุดารัตน์ โยธาบริบาล

Keywords:

การสรรหาคัดเลือกคนเก่ง, ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์, สงครามการแย่งชิงคนเก่ง

Abstract

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำไปสู่การตั้งคำถาม : ประเด็นการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ว่า “ประเทศสิงค์โปร์มีกลยุทธ์การดึงดูดคนเก่งจากคนเก่งทั่วโลก ในกรณีการสรรหาและการคัดเลือกคนเก่งชาวต่างชาติเข้าสู่ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์อย่างไร ? และประเทศไทยสามารถนำมาเป็นบทเรียนใช้เป็นแนวทางสร้างศูนย์กลางคนเก่ง สำหรับภาครัฐในประเทศไทยได้อย่างไร?” มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษานโยบายรัฐบาลสิงค์โปร์กับการเป็นศูนย์กลางคนเก่งในเอเชีย 2.มุ่งการศึกษากลยุทธ์การสรรหา คัดเลือกคนเก่ง ข้อเสนอสิทธิพิเศษ ที่ดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้าสู่ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์ และ 3.เสนอการปรับใช้บทเรียนการสร้างศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์สู่แนวทางสร้างและเตรียมความพร้อมภาครัฐไทยในการสร้างศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทยในบริบทอาเซียน บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ , การบริหารจัดการคนเก่งและศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์ พบว่าประเทศสิงค์โปร์มีการสรรหา-คัดเลือก เพื่อดึงดูดคนเก่งชาวต่างชาติ(แรงงานทักษะ) จากทั่วโลก เข้าสู่ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์ โดยรัฐบาลสิงค์โปร์มีบทบาทกำหนดนโยบายชัดเจนด้านนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์สิงค์โปร์กับการเป็นศูนย์กลางคนเก่งในเอเชีย , กลยุทธ์ Global Talent (การสรรหา-คัดเลือก) , ยื่นข้อเสนอและสิทธิพิเศษให้กับคนเก่งชาวต่างชาติ ดังกล่าวได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จ  ในบริบทการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ.2558 นี้ ประเทศไทยควรเริ่มต้นใช้จังหวะและโอกาสนี้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการแข่งขันสรรหาคัดเลือกคนเก่งชาวต่างชาติจากประเทศต่างๆในอาเซียนมาใช้ประโยชน์ในภาครัฐไทย ผู้เขียนจึงสังเคราะห์ตัวแบบแนวทางการเตรียมความพร้อมสร้าง talent hub : Model War of talent by “Talent Hub” in Singapore ด้านการสรรหาและคัดเลือกคนเก่งชาวต่างชาติ และสังเคราะห์หลักPMWP (Place , Money , Welfare , Position) เพื่อเป็นแนวทางดึงดูดคนเก่งชาวต่างชาติสู่ศูนย์กลางคนเก่งไทย ได้แก่ การให้สถานที่พัก สาธารณูปโภคและความปลอดภัย ,  ค่าตอบแทน เงินเดือน , สวัสดิการเท่าเทียมกับคนไทย ,  ตำแหน่งงานและแผนความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตัวแบบและแนวทางดังกล่าวจะเป็นแนวทางการสร้างองค์ความรู้การสรรหาคัดเลือกคนเก่งชาวต่างชาติสู่ภาครัฐไทยและเสนอเป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสร้างและผลักดันศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย

Downloads

How to Cite

โยธาบริบาล ส. (2015). สิงค์โปร์กับสงครามการแย่งชิงคนเก่งทั่วโลกสู่ “ศูนย์กลางคนเก่งสิงค์โปร์” : บทเรียนและความท้าทายสู่แนวทางสร้าง “ศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย” ในบริบทอาเซียน. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 31(2), 1–28. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32274

Issue

Section

บทความวิชาการ