วาทกรรมความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ

Authors

  • ชนกพร อังศุวิริยะ

Keywords:

วาทกรรมความรุนแรง, หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, หนังสือพิมพ์ระดับชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงจากเหตุการณ์สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านข่าวหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้ ได้แก่ ชาวใต้ โฟกัสภาคใต้ สมิหลาไทมส์ และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ ได้แก่ ไทยรัฐ มติชน ระหว่างปี พ.ศ.2547-2548 และปี พ.ศ.2554- 2555 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 1,344 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่าวาทกรรมความรุนแรงดังกล่าวสื่อผ่านภาษา ทั้งวัจนภาษา ได้แก่ การเป็นประธานแสดงตำแหน่ง คือประธานที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้าย ผู้ได้รับผลกระทบ ผู้สังเกตการณ์ การละประธานแสดงตำแหน่งที่หายไป ได้แก่ ละประธานที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้าย และผู้ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์หรือผู้สังเกตการณ์ และอวัจนภาษา ได้แก่ ภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ความเสียหายต่อสถานที่/วัตถุสิ่งของ ผู้ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ และผู้ก่อการร้าย หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทเสนอข่าวดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง การสร้างวาทกรรมความรุนแรงทำให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวน่ากลัว โหดร้ายรุนแรง  และไม่ใช่พื้นที่น่าอยู่อีกต่อไป 

Downloads

How to Cite

อังศุวิริยะ ช. (2015). วาทกรรมความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และ หนังสือพิมพ์ระดับชาติ. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 31(2), 29–54. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32275

Issue

Section

บทความวิชาการ