“ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ”: พื้นที่ต่อรองของแรงงานข้ามชาติและความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า
Keywords:
ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ, ยองจิอู, พื้นที่ต่อรอง, แรงงานข้ามชาติ, เศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า, เครือข่ายทางสังคมAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การเกิดขึ้นของยองจิอูในฐานะดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ 2) การให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติของยองจิอู และ 3) ความสัมพันธ์ของแรงงานข้ามชาติกับเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สังเกต และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ยองจิอู และเครือข่าย เถ้าแก่โรงงาน และผู้สื่อข่าว จำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็น ตีความ สร้างข้อสรุป และนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การเกิดขึ้นของยองจิอูในฐานะดอกไม้แห่งรุ่งอรุณพบว่า ในปี 2539 โมฉ่วยได้เข้าร่วมกับองค์กร ABSDF เพื่อร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองตามแนวชายแดนไทย-พม่า จึงทำให้ได้รับรู้ปัญหาของแรงงาน ปี 2542 โมฉ่วยได้รวมกลุ่มกับแรงงานข้ามชาติร่วมกันก่อตั้งยองจิอู เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ
ยองจิอูได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติด้วยการให้พื้นที่พักพิงใน safe house ฝึกทักษะเย็บจักร และฝากงาน อบรมให้ความรู้สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน และช่วยทำคดีของแรงงานข้ามชาติที่ถูกเอาเปรียบค่าแรงจากนายจ้างโดยประสานการทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่าย
ความสัมพันธ์ของแรงงานข้ามชาติกับเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่าพบว่า แม่สอดได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความต้องการแรงงานราคาถูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงทำให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการผลิต เงินค่าแรงที่ได้รับจากการทำงานจัดเป็นเศรษฐกิจในระดับชีวิตประจำวันที่หมุนเวียนสะพัดในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ด้านแม่สอด ส่วนเศรษฐกิจในระดับมหภาคมีทุนหมุนเวียนในพื้นที่แม่สอดในลักษณะทุนข้ามชาติ
��งการเตรียมความพร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสร้างและผลักดันศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย