Tourism and Solid Waste Management on Koh Pha-ngan: An Exploratory Study
Abstract
Tourism and Solid Waste Management on Koh Pha-ngan: An Exploratory Study
สถานการณ์การท่องเที่ยวและการจัดการขยะบนเกาะพะงัน: กรณีศึกษาเชิงสำรวจ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอ มุมมองและความตระหนักถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางด้านการจัดการขยะและบำบัดน้ำเสียบนเกาะพะงัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย งานวิจัยนี้ได้รับการออกแบบในลักษณะของ Exploratory Study โดยใช้ทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิที่ใช้ได้จากการทบทวนเอกสารทางด้านงบประมาณและรายงานประจำปีของเทศบาลทั้ง 3 แห่ง บนเกาะพะงัน ส่วนข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ได้จากการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารของเทศบาลแต่ละแห่ง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมหรือสถานที่พักต่าง ๆ บนเกาะ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนเกาะพะงันเป็นจำนวนความถี่มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ จึงถูกนำมาวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสาระ (Content Analysis)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ในอดีตเมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ เกาะพะงันมีความสวยงามกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก ความสวยงามที่ได้ลดลงไปนี้มีสาเหตุทางอ้อมมาจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะนี้เกาะพะงันกำลังผจญกับปัญหาการจัดการขยะโดยเฉพาะขยะที่เป็นขวดแก้ว ประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับปัญหานี้และตระหนักดีว่า หากธรรมชาติและความสวยงามของเกาะพะงันลดลงย่อมมีผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของเกาะพะงัน
งานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เทศบาลทั้ง 3 แห่งบนเกาะพะงันควรออกข้อบัญญัติในเรื่องการควบคุมและจำกัดดขยะภาชนะและขวดแก้ว ซึ่งเป็นขยะที่สะสมอยู่บนเกาะเป็นจำนวนมากโดยการจัดเก็บภาษีสินค้าภาชนะขวดหรือแก้ว เพื่อนำไปใช้เป็นต้นทุนในการขนส่งขยะประเภทนี้ไปแปรรูปเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังให้ข้อเสนอแนะโดยเทศบาลทั้ง 3 แห่งควรมีการกำหนดนโยบายควบคุมการก่อสร้างอาคารใหม่ประเภทต่างๆ ให้ขยายไปในแนวสูงมิให้ขยายเพิ่มไปในแนวราบที่มีพื้นที่สีเขียวอันเป็นแหล่งสำคัญของเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ในการรองรับน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
Abstract
This article presents viewpoints and concerns about the problems of solid waste and wastewater
management on Koh[1] Pha-ngan, one of the most popular tourist destinations in Thailand. It is based on an
exploratory study, which drew upon primary and secondary sources of data. Primary data came from focus group discussions with Municipal administrators and informal discussions with local key stakeholders such as business owners, hotel managers, and international tourists who have visited Koh Pha-ngan at least twice. The survey data are qualitative and were subjected to content analysis for the purpose of this research. Secondary data include Fiscal Year budget reports of the three Municipalities of the island.
The analysis of data indicates that 30 years ago Koh Pha-ngan was much more beautiful and attractive than today. The declining natural beauty is indirectly related to the increasing number of tourists that have been coming to the island. Currently, the island is attempting to cope with the problem of solid waste management, particularly the accumulation of glass bottles. The local residents and business owners recognize the importance of preserving the natural environment and beauty of the island and acknowledge that tourism is the principal source of income for the local people. Any decline in the natural beauty of the island would certainly have a negative impact on tourism.
Based on the results of this research, it is recommended that the three local administrative organizations (LAOs) in Koh Pha-ngan enact municipal ordinances to levy a local tax for the disposal of bottles and other beverage containers, the main untreated solid waste on the island. The proposed collectable tax will be used for the purpose of shipping this waste to the mainland for recycling. In addition, this research leads to the suggestion that the LAOs control the areas that will be allowed for new construction so that they do not encroach on the green and organic areas of the island that have been used for wastewater retention.
[1] Koh is the Thai word for island. Thus, Koh Pha-ngan is Pha-ngan Island.