อคติในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ

Authors

  • ศรัญญา วาหะรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • ชลลดา เลาหวิริยานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Keywords:

ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, วัฒนธรรมหนังสือเรียน, ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

         เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าบทบาท ของภาษาอังกฤษในปัจจุบันนั้นเป็นภาษานานาชาติและผู้เรียนภาษาอังกฤษจำเป็นต้องมีทั้งความตระหนักในความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับบุคคลที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งความรู้ความสามารถเหล่านี้ส่วนหนึ่งผู้เรียนควรได้มาจากหนังสือเรียน แต่ผลของการศึกษาครั้งนี้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือเรียน My World 4-6 พบว่าหนังสือเรียนชุดนี้ยังคงไม่สามารถเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลายและลุ่มลึกมากพอที่จะสื่อสารกับบุคคลที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆได้อย่างพอเพียง เพราะเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้านบวกเกี่ยวกับวัฒนธรรมเป้าหมายโดยเฉพาะวัฒนธรรมของคนอังกฤษและอเมริกัน  เช่นการท่องเที่ยว และการบริโภคนิยม แต่เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านมุมมองหรือความคิดเห็น  ทัศนคติของบุคคลต่างๆจากทุกกลุ่มวัฒนธรรมกลับพบในปริมาณที่น้อยพอๆเนื้อหาทางวัฒนธรรมของผู้เรียน (วัฒนธรรมไทย) และวัฒนธรรมนานาชาติซึ่งจัดว่าเป็นข้อมูลทางวัฒนธรรมที่สื่อให้ผู้เรียนเห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมและยอมรับในความต่างของบุคคลที่มาจากวัฒนธรรมอื่น  ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยนี้คือหนังสือเรียนภาษาอังกฤษควรเพิ่มเนื้อหาด้านวัฒนธรรมให้หลากหลายมากขึ้น เช่น ประเด็นทางสังคม และเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆด้วย  นอกจากนั้น ผู้สอนควรใช้หนังสือเรียนเพื่อเป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนเท่านั้น และสามารถเสาะหาเนื้อหาจากแหล่งอื่นๆมาเพิ่มเติมได้

 

คำสำคัญ: ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม วัฒนธรรมหนังสือเรียน ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ 

 

Abstract

 

            It is widely accepted that English nowadays is used as an international language; its learners therefore need to be aware of cultural differences and possess Intercultural communicative competence. Such knowledge could in part be acquired from English language teaching textbooks. The findings of this content analysis study, however, discovered that the analyzed textbooks (My World 4-6) were unable to provide variety and depth of cultural content, which resulted in a deficiency in learners’ ability to fully participate in intercultural communication. Cultural content mainly referred to positive aspects of the target culture especially British and American such as tourism and consumerism. Likewise the content relating to other cultural backgrounds were under-represented as was content about source (or Thai) culture and especially international culture which is deemed necessary for learners being exposed to and being made aware of the cultural diversity of people they communicate with. It is recommended that English language textbooks provide additional opportunities to deliver a more diverse cultural content, such as social issues, from sources other than that of the target culture. Additionally, teachers should view textbooks as teaching resource which form an integral part of a larger package of relevant teaching materials and supplement them accordingly.

 

Keywords: Intercultural Communicative Competence (ICC), Culture, ELT textbooks, English as an International language (EIL)

Downloads

How to Cite

วาหะรักษ์ ศ., & เลาหวิริยานนท์ ช. (2016). อคติในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 32(2), 91–112. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/51710

Issue

Section

สารบัญ