การปรับวิธีคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีในสังคมไทยให้สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา

Authors

  • รัตนะ ปัญญาภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประพันธ์ ศุภษร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

ศักดิ์ศรี, สังคมไทย, พระพุทธศาสนา

Abstract

การปรับวิธีคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีในสังคมไทยให้สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา

The Application of Concept on Dignity in Thai Society

According to Buddhist Perspective

 

 

บทคัดย่อ

           ศักดิ์ศรีตามแนวคิดตะวันตก หมายถึงเกียรติและคุณค่าของบุคคลที่ควรเคารพ, ในสังคมไทย มีการบัญญัติคำว่า ศักดิ์ศรี (Sak Si) มาใช้แปลคำว่า Dignity แต่มีการใช้คำว่า ศักดิ์ศรี (Sak Si) ในสองมิติด้วยกัน คือ มิติทางทฤษฎีในกฎหมายไทย เช่น รัฐธรรมนูญ และมิติทางปฏิบัติ กล่าวคือ การกล่าวอ้างทั่วไปซึ่งสื่อในแง่ของความถือตัว ความหยิ่งทะนงตน ซึ่งคำว่า ศักดิ์ศรี (Sak Si) ในมิติที่สองสอดคล้องกับอุปาทานในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทิฏฐุปาทาน (การยึดถือความเห็นของตนเป็นใหญ่) กามุปาทาน (การยึดมั่นหลงติดในกาม)  สีลัพพตุปาทาน  (การยึดถือในข้อปฏิบัติที่ผิดโดยคิดว่าถูกต้อง) และอัตตวาทุปาทาน (การยึดถือในแนวคิดว่ามีตัวตน) ซึ่งทำให้ไม่เปิดใจยอมรับความคิดของผู้อื่นๆ และขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย แต่ศักดิ์ศรีตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับความหมายของศัพท์ Dignity หมายถึง การเอาชนะตนเองและให้อภัยอย่างไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนไทยสามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวศักดิ์ศรีในแง่ลบที่สอดคล้องกับอุปาทาน มาเป็นศักดิ์ศรีในแง่บวกคือการเอาชนะตนเองและการให้อภัยได้ตามหลักพระพุทธศาสนาได้ก็จะสามารถสร้างความสงบสุขได้ตั้งแต่ภายในจิตใจและภายนอกคือสังคมด้วย

 

คำสำคัญ : ศักดิ์ศรี, สังคมไทย, พระพุทธศาสนา

 

Abstract

 

          Dignity in Western concept means honor and worth of the person who should be respect. In Thai society, Sak Si which is translated as Dignity is used in two dimensions; first dimension is theory of law e.g., constitution and practice i.e., generally claimed in terms of self-esteem and self-conceited and second dimension is correspond to the clinging in Buddhism i.e., Ditthupādāna  (clinging to views), Kamupādāna (clinging to sensuality), Silabbatupādāna (clinging to mere rules and ritual),  Attavadupādāna (clinging to ego-belief). These all cling create the narrow mind and deny the ideas of others and it leads to the conflict with others. However, dignity in Buddhism that is consistent with the definition of the term Dignity is to self-conquer and forgive unconditionally. If Thai people can modify the way of thinking about dignity from negative to positive i.e., self-conquer and forgive unconditionally along with Buddhism, it is possible to create from inside mind to outside i.e. society.

 

Keywords: Dignity, Thai society, Buddhism

Downloads

How to Cite

ปัญญาภา ร., วุฑฺฒิกโร พ., & ศุภษร ป. (2016). การปรับวิธีคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีในสังคมไทยให้สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 32(3), 1–24. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/51716

Issue

Section

สารบัญ