การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเฉพาะกิจผ่านเฟซบุ้ก

Authors

  • วัชรพงษ์ หวันสมาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • ชลลดา เลาหวิริยานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Keywords:

เฟซบุ้ก web 2.0, การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษเฉพาะทาง, การสอนอ่าน

Abstract

การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเฉพาะกิจผ่านเฟซบุ้ก

Scaffolding in English for Specific Purposes through Facebook

 

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือเพื่อศึกษาความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะทางผ่านเฟซบุ้กและการสอนในห้องเรียนโดยใช้กระบวนการเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ (Scaffolding) ในการสอนให้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีความสามารถทางภาษาในระดับพื้นฐาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษผ่านเฟซบุ้กรวมทั้งทัศนคติในการใช้เฟซบุ้กเป็นสื่อกลางในการเรียน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 2 จำนวน 118 คนที่เรียนสาขาธุรกิจสถานพยาบาล ของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย การเก็บข้อมูลทำโดยใช้การทดลองแบบถ่วงดุลย์ (Counterbalanced Design) เพื่อหมุนเวียนให้กลุ่มตัวอย่างให้ได้รับการทดลองครบทั้ง 2 วิธี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เรียนผ่านเฟซบุ้กมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนในห้องเรียนในการทดลองทั้ง 2 ครั้ง โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเรียนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจผ่านเฟซบุ้กได้ผลดีกว่าการเรียนอ่านในห้องเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มตัวอย่างจากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมี 2 ปัจจัยคือหลักการของการส่งผู้เรียนให้ถึงฝั่ง (The principle of handover) และหลักการของการสร้างโอกาสของความสำเร็จ (The principle of contingency) ส่วนผลการศึกษาด้านทัศนคติพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นว่าการสอนผ่านเฟซบุ้กสามารถเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนและช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียน สำหรับข้อเสียของการเรียนผ่านเฟซบุ้กนั้น มีผู้เรียนบางส่วนเห็นว่าการเรียนผ่านเฟซบุ้กนั้นลดความสามารถในการเรียนรู้ของตน ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไปคือศึกษาวิธีการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่านแบบมีวิจารณญาณโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี Web 2.0

คำสำคัญ:  เฟซบุ้ก web 2.0 การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษเฉพาะทาง การสอนอ่าน

Abstract

          The objective of this study was to compare the results of students’ learning outcomes subsequent to completing a reading course in English for Specific Purposes scaffolded via Facebook and in class.  It also investigated the factors contributing to the students’ achievement and their attitudes towards the use of Facebook to mediate the learning process. The participants of this study, whose English language proficiency was beginners, were 118 second year higher vocational certificate students studying at a private vocational college in Hat Yai district, Songkla province in Thailand. They were randomly selected. A counterbalanced design was employed in this study to allow the two groups of participants to receive both types of instruction. It was revealed that, in both experiments, the participants in the Facebook group had higher post-test scores than those in the teacher-fronted condition with a significant difference at 0.00. This suggests that teaching English for Specific Purposes course through Facebook yielded a better learning outcome than in class.  The results of a multiple regression analysis showed that two factors identified as influencing their performance were 1. the principle of handover and 2. the principle of contingency. As for attitudes, it was found that, for many participants, teaching through Facebook increased their motivation and facilitated their learning while some participants argued that learning through Facebook decreased their level of learning. Further research should be carried out in order to improve students’ critical reading ability scaffolded via Web 2.0.

Keywords: Facebook, web 2.0, scaffolding, ESP, teaching reading 

Downloads

How to Cite

หวันสมาน ว., & เลาหวิริยานนท์ ช. (2016). การเสริมต่อศักยภาพทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเฉพาะกิจผ่านเฟซบุ้ก. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 32(3), 199–224. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/51731

Issue

Section

สารบัญ