ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านสังคมของครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ: กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ดุษฎี อายุวัฒน์
  • ปิยพงษ์ บุญกว้าง

Keywords:

ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ, ความมั่นคงด้านสังคม, ครัวเรือนย้ายถิ่น, การย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาระดับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและระดับความมั่นคงด้านสังคมของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย คือ ครัวเรือนในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่มีแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศในระยะ 5 ปี (ระหว่าง พ.ศ.2553-2558) ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ชัยภูมิ และขอนแก่น ซึ่งมีสถิติการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดสามลำดับแรกของภูมิภาคนี้ จำนวน 428 ครัวเรือน  เครื่องมือวิจัยได้แก่  แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อถือได้ 0.87  เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา

          ผลวิจัยพบว่า  ครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นส่วนใหญ่มีระดับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 77.8 ในขณะที่มีครัวเรือนเพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้น ที่มีระดับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจในระดับสูง และพบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มีระดับความมั่นคงด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 53.5  ในขณะที่อีกร้อยละ 45.8 ของครัวเรือนมีระดับความมั่นคงด้านสังคมในระดับสูง จะเห็นได้ว่าครัวเรือนของแรงงานย้ายถิ่นมีความมั่นคงด้านสังคมในระดับสูง เป็นสัดส่วนที่สูงกว่า ครัวเรือนของแรงงานที่มีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจในระดับสูง  เมื่อเปรียบเทียบร้อยละของค่าเฉลี่ยความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านสังคมของครัวเรือน  พบว่า ระดับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ มีร้อยละเพียง 88.05  ซึ่งต่ำกว่า ระดับความมั่นคงด้านสังคม ที่มีร้อยละ 93.28  

Downloads

How to Cite

อายุวัฒน์ ด., & บุญกว้าง ป. (2016). ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านสังคมของครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ: กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(1), 63–80. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/58987

Issue

Section

บทความวิชาการ