สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนา ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Keywords:
The State of learning and teaching Buddhist subject, Khon Kaen UniversityAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นปี วิชาที่เรียน ต่างกัน 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทางพระพุทธศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 275 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ T-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน พบว่า นักศึกษาเป็นเพศหญิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74.5 มีอายุระหว่าง 18-20 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.5 ชั้นปีส่วนใหญ่ อยู่ชั้นปีที่ 2 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.5 รายวิชาที่ลงทะเบียน ลงทะเบียนวิชาพุทธศาสนามหายาน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.7
2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน
3. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรวมทั้ง 5 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีเพศต่างกันและอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนนักศึกษาอยู่ชั้นปี ต่างกัน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทางพระพุทธศาสนา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาทางพระพุทธศาสนาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับปัญหาและข้อเสนอแนะจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านการประเมินผล
ABSTRACT
Research “The status of Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University” is a survey research with following objectives: 1) to study personnel factors of Khon Kaen University students, 2) to study opinion of students towards state of Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, 3) to compare opinion towards the state of Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University with different age, study year and studying subject and 4) problems and suggestions about status of Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University.
A study sample group was 275 bachelor degree study in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. The data were questionnaires and analyzed by computer. The statistic instruments used in data analysis were frequency, an average percentage, means and standard deviation.The population deviation was analyzed by independent t-test and One-way ANOVA was for one way fluctuation. The results of the research were as follows:
1. In academic year 2011, most of the sampling units were female accounting 74.5%, age within 18 – 20 years old accounting 65.5%, studying in the 2nd year accounting 38.5% and studying Mahayana Buddhism subject accounting 20.7%.
2. In overall, students’ opinion towards state of Buddhism learning and teaching was in high level. When considering each aspect, arranging from high mean to low, we found aspect of lecturers followed by aspect of learning and teaching activities and evaluation. As for aspect with lowest mean was factor supporting learning and teaching.
3. The results from comparing personnel factors and opinion towards state of Buddhism teaching and learning in Faculty of Humanities and Social Sciences, in overall 5 aspects, found that students with different sex and age had no different opinion towards status in Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.
But students with different study year and Buddhist subject had different opinion towards state in Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University with statistical significant figure at .05.
4. Problems and suggestions about state in Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, in all 5 aspects, were discussed separately : aspect of subject matter, aspect of learning and teaching activities, aspect of factor supporting learning and teaching, aspect of lecturers, aspect of evaluation;
Keywords : The State of learning and teaching Buddhist subject, Khon Kaen University