ครอบครัว ผู้ป่วย อาสาสมัคร ชุมชน เรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ
Abstract
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาและวิจัยสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข เป็นโครงการที่ดำเนิน การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะทั้ง 4 มิติ คือ ด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับผิดชอบดำเนินงาน โดยมีการขับเคลื่อนงานสุขภาวะร่วมกับองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคอีสานซึ่งมีพื้นที่ในการดำเนินงาน 6 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 ตำบล การดำเนินงานขับเคลื่อนงานสุขภาวะร่วมกับชุมชน มีการสำรวจสถานการณ์สุขภาวะในตำบลเพื่อให้ทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ การพัฒนาตัวชี้วัด สุขภาวะทั้ง 4 มิติตามความคิดเห็นของชาวบ้านแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นเป้าหมายในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแกนนำองค์กรชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้ใช้ข้อมูลและตัวชี้วัดสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการเพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพ และศูนย์เรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง การสื่อสารสาธารณะในตำบลเพื่อให้เกิดการรับรู้และยอมรับจนสามารถขยายผลนวัตกรรมสุขภาพได้
หลังจากการดำเนินงานในพื้นที่ 30 ตำบลแรกในปีที่ 1 เสร็จเรียบร้อย เมื่อย่างเข้าสู่ปีที่ 2ของโครงการซึ่งขยายผลการทำงานไปในตำบลใกล้เคียงอีก 30 ตำบล โครงการพัฒนาและวิจัย สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข ได้มอบหมายให้คณะประเมินผลภายในทำการถอดบทเรียน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ การถอดบทเรียนเป็นการจัดการความรู้ที่เป็นเครื่องมือในการทบทวนการสร้างการเรียนรู้ของชุมชนในการดำเนินงานขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน อันเป็นการหนุนเสริมการทำงานของชุมชน การเสริมพลังในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนต่อไป
โครงการถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้โครงการพัฒนาและวิจัยสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเฉพาะประเด็นเรื่องศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อสรุปบทเรียนการสร้างการเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของแต่ละตำบล รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนและขยายผลการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ในพื้นที่ดำเนินงานปีที่ 1 ของโครงการฯ 6 จังหวัดๆละ 2 ตำบล รวม 12 ตำบลได้แก่ 1) ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 3) ตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 4) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 5) ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 6) ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 7) ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 8) ตำบลหนองแวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 9) ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 10) ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 11) ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 12) ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจากคณะทำงานจังหวัดและรายงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นคณะวิจัยได้ทบทวนแนวคิด พัฒนากรอบแนวคิด และขอบเขตเนื้อหาในการถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทำการออกแบบการถอดบทเรียนและพัฒนาเครื่องมือในการถอดบทเรียน ประสานงาน เตรียมการถอดบทเรียนกับคณะทำงานจังหวัด ดำเนินการถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชน สรุปบทเรียนและเขียนรายงานการถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมถอดบทเรียนแต่ละตำบลดังนี้ คณะทำงานโครงการฯระดับจังหวัด 2 คน คณะทำงานสุขภาวะตำบล 4 คน คณะทำงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 10-15 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 2 คน คณะประเมินผลภายใน 3 คน รวม 21- 26 คน
Abstract
Health Promotion, physically, mentally, socially and intelligently, has community as base. This study was focused on community well-being is to understand lesson-learnt on process and development of community well-being promotion mechanism and analyzed on the learning in order to see the power of the community-based well-being promotion and its’ limitations. It was also aimed to find the future trend to optimal quality of healthy community life by which the researcher studied in 12 case studies from 6 provinces in the Northeastern region of Thailand. These existing programs have been funded by The Thai Health Promotion Foundation’s Fund and their reports and relevant documents were reviewed, visits were made to the areas and participation was focused in their area- based meetings to conclude and interview provincial work teams, Sub-district work teams and target groups involved in the Sub-district well-being promotion and learning.
The efforts to solve real health problems existed in the communities had learning methods promotion and collective searching on proper practices, mindset adjusting to promote family and community well-being through their self-knowing, livelihood, local wisdom/indigenous in closely and friendly relation to natural resources and environment integrating technical know-how from outside resources. Their health core leaders developed Sub-district Well-Being Index (SWI) and developed local and folk recreation and entertainment to be effective campaign tool, apply local materials to use in therapies and conserved local wisdom utilizing traditional expert in many branches of arts and knowledge such as folk/local music, local/native varieties of herbs, plants and vegetables, organic farms, traditional Thai massage and community forest management etc.
In consideration of power and limitations on future trend of community-based well-being, it was found that the communities has developed their learning resources to apply in health care like community forest and water resources as valuable diet sources, etc. The conservation on local wisdom has been made effective by local school curriculum designs transferring their priceless, old knowledge to school students but only in fundamental level. It confirms the use of local learning resources and wisdom for community well-being in the present situation. It, as well, confirms that to have intensive and appropriate learning for key target groups can change perception, awareness and behavior in important community health promotion. In the aspect of working mechanism to construct CWB learning methods, it have been undertaken through cultural ways of mutual helps of community members, developing volunteers, and elderly groups working. Therefore CWB is community-based natural resources and cultures applications and inside strength against in the strong stream of deteriorated and discouraged changing society. Learning power has been supported technically and additionally froml outside resources. However the learning for Community Well-Being (CWB) still encountering limitations and still need new supports to have clear and up-to-date optimal quality of healthy community life.