กินดีมีสุข: นวัตกรรมสุขภาวะตำบลหนองกินเพล

Authors

  • วศิน โกมุท อาจารย์ประจำสาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Abstract

บทคัดย่อ

ตำบลหนองกินเพลตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี  สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตลอดปี ประกอบด้วย 9  หมู่บ้าน  จำนวน  1,691 ครัวเรือน  มีประชากรประมาณ  7,860 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  สภาพสังคมส่วนใหญ่มีสภาพกึ่งเมืองกึ่งชนบท  ชุมชนตำบลหนองกินเพลได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะชุมชน  แกนนำสุขภาวะตำบลหนองกินเพลจึงได้ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดสุขภาวะ 4 มิติ อันได้แก่  สุขภาวะทางกาย  สุขภาวะทางใจ  สุขภาวะทางสังคม  และสุขภาวะทางปัญญา  เพื่อเก็บข้อมูลสุขภาวะของครัวเรือนในตำบลหนองกินเพลโดยการสัมภาษณ์  561 ครัวเรือนจากทั้งหมด 1,691 ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 33.18 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด

จากการเก็บข้อมูลสุขภาวะทั้งสี่ด้าน  ปัญหาสุขภาวะทางกายที่สำคัญ คือ คนในชุมชนประสบกับปัญหาภาวะความเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ อันประกอบด้วยโรคเกาต์  โรคเบาหวาน  และโรคความดันโลหิตสูง โดยสาเหตุสำคัญมาจากการพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน   ชุมชนเห็นความสำคัญของสุขภาวะทางกายที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการมีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน   ชุมชนจึงดำเนินการโครงการกินดีมีสุขตำบลหนองกินเพล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนลดความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  เพื่อลดอัตราการเป็นโรคที่ป้องกันได้

วิธีการการดำเนินโครงการกินดีมีสุข  เริ่มจากการประกาศนโยบายกินดีมีสุขตำบลหนองกินเพล  กิจกรรมพายกะต่าหาแนวกิน   กิจกรรมสังฆทานอาหาร   การจัดตั้งชมรมผักพื้นบ้านตำบลหนองกินเพล   โดยมีตำเมี่ยงสมุนไพรเป็นเมนูชูสุขภาพประจำตำบล  นำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นน้ำมันสมุนไพรและยาหม่องเสลดพังพอน  ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและผักปลอดสารพิษในครัวเรือน  และการส่งเสริมการรับประทานข้าวกล้องในชุมชน  โดยสร้างการเรียนรู้และสื่อสารสุขภาวะชุมชน ผ่านแผนที่สุขภาวะระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน   กลอนลำสุขภาวะ  สมุดภาพกิจกรรม   วิทยุชุมชนคนฮักดี  และเมนูชูสุขภาพ “ตำเมี่ยงสมุนไพร”   ทำให้คนในชุมชนเกิดการพัฒนาสุขภาวะทั้งสี่มิติ ได้แก่ กาย ใจ สังคม ปัญญา  และได้นำข้อมูลสุขภาวะด้านใจ สังคม และปัญญามาดำเนินการทำกิจกรรมในตำบลหนองกินเพลต่อไป

 

Abstract

Tambon Nong Kin Phen situates in Amphoe Warin Chamrap in Ubon Ratchathani Province. In general, the geography of the Tambon is plain with Mun river passing all year round.  The tambon consists of 9 villages with the population of 7,860 in 1,691 households.  The majority of the population is agriculturist. General characteristic of the society is urban-rural society.  Health care leaders of Tambon Nong Kin Phen set 4 indicators in order to collect health data of Nong Kin Phen population.  The 4 indicators are health namely physical health, psychological health, social health and intellectual health.  The data collection was done by interviews where 561 households were involved.  That accounts for 33.18% of all the households.

From the collected data, major physical health problems were due to diseases that can be prevented.  The diseases were podagra,  diabetes and hypertension.  It was also found that these diseases depended largely consumption behaviors of households.  The community viewed the good physical health as a good starting point of good health.  Hence, the community started gin dee mee suk campaign (eat well and be happy).  The objective was to change consumption behaviors in order to reduce the probability of having diseases.

The gin dee mee suk campaign started with an announcement of the campaign’s policy which was followed by two activities: pai ka ta ha naew gin (a basket for naturally grown vegetables) and sang-ka-tarn ar-harn.  Then local vegetables club was established.  The club came up with more activities including making of tam mieng samunphrai (herbs salad) which was promoted as the healthy menu of the Tambon, extraction of herbal oils and production of philippine violet balm, promoting organic growing of herbs and vegetables for used in housholds and campaigning on eating brown rice. The community was trained about health care from health map, poems, picture book activities, local radio program, kon-hak-dee radio (radio for people who aims for good healths) and the healthy menu tam mieng samunphrai.  As a result of the learning process, the community developed better health in all the 4 indicators and used the learned information about psychological health,  social health, and intellectual health to create more activities within the Tambon.

Downloads

How to Cite

โกมุท ว. (2013). กินดีมีสุข: นวัตกรรมสุขภาวะตำบลหนองกินเพล. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 29(2), 79–96. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6131

Issue

Section

บทความวิชาการ