รูปแบบการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่

Authors

  • สุรศักดิ์ บุญเทียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานปฏิรูป (เพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม)

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย กลไกการทำงาน กระบวนการ และรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ รวมถึงการเสนอแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสังคมไทย รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ใช้วิธีวิทยาแบบผสมผสาน คัดเลือกและดำเนินการทุกจังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมประชากรผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นของพื้นที่ ระหว่าง 30 กันยายน 2553 ถึง 1 ตุลาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเนื้อหาด้วย Content Analysis มีข้อค้นพบดังนี้

1. ความหมาย คือ ความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของฝ่ายต่างๆ ในทิศทางที่สังคมต้องการ โดยการสร้างพื้นที่สาธารณะให้กับภาคส่วนต่างๆในสังคมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษาหารือ ถกแถลงอย่างเปิดเผยและเกิดกระบวนการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านการประชุมที่เป็นระบบตั้งอยู่บนหลักการมีส่วนร่วมภายใต้ศีลธรรมอันดี

2. กลไกการทำงาน สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มได้แก่ กลไกหลักและกลไกหนุนเสริม

3. กระบวนการ สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นพัฒนาประเด็นสาธารณะ 2) ขั้นจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 3) ขั้นติดตามผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ

4. รูปแบบการขับเคลื่อน มา สามารสรุปเป็นรูปแบบแบ่งได้ 3 มิติ คือ

มิติที่ 1 แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนไหวในเชิงนโยบาย (Movement)

  1. แบบปลูกป่าล้อมเมือง
  2. แบบสร้างเมืองขยายสู่ป่า
  3. แบบสร้างเมืองปลูกป่า
  4. แบบสร้างเย็นกระทบร้อน
  5. แบบกัดติด

มิติที่ 2 แบ่งตามลักษณะการขับเคลื่อนเชิงกระบวนการ (Process)

  1. แบบค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไข (Problem and solution)
  2. แบบสร้างภาพฝันแล้วพัฒนาตาม (scenario and follow up)
  3. แบบสร้างแบบอย่างที่ดีขยายสู่นโยบาย (Best Practice toward to Policy
  4. แบบเฝ้าระวังเตือนภัยให้สังคม (Policy Watch and warning
  5. แบบใช้วิจัยท้องถิ่นเป็นฐานในการขับเคลื่อน (Research Base)
  6. แบบให้คำปรึกษาแนะนำนโยบาย (Policy Consultation)
  7. แบบการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาสู่ประเด็นสาธารณะ (Information for Public Issue) /แบบการพัฒนากลไกเอื้ออำนวยกระบวนการนโยบาย (Policy Mechanism) / แบบการพัฒนาเครือข่ายนโยบาย (Policy Networking)
  8. แบบการพัฒนาและติดตามผลนโยบาย (Policy Development and follow up)
  9. แบบเคลื่อนไหวกดดัน (press forward)
  10. แบบเรียนรู้เน้นค่อยเป็นค่อยไป(share and Learn)

มิติที่ 3 แบ่งลักษณะการพัฒนาเวทีหรือสร้างพื้นที่สาธารณะ (Forum)

  1. แบบเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประยุกต์ (NHA Apply)
  2. แบบการขับเคลื่อนนโยบายด้วยกระบวนการถกแถลง (Policy Proactive Deliberate)
  3. แนวทางการพัฒนา ได้แก่ 1) แกนนำ 2) การจัดวางกลไกการทำงาน 3) การจัดวางเครือข่ายนโยบายและผู้มีส่วนได้เสีย      4) การพัฒนาฐานข้อมูลและองค์ความรู้ของพื้นที่ 5) การพัฒนาและกำหนดประเด็นสาธารณะ 6) การกำหนดทิศทางเป้าหมายในเชิงนโยบายที่ชัดเจน 7) การจัดวางยุทธศาสตร์และการออกแบบกระบวนการ 8) การจัดเตรียมเวทีและออกแบบการประชุมที่เป็นระบบและมีส่วนร่วม 9) การหาจังหวะและค้นหาโอกาสในการผลักดันข้อเสนอ 10) การพัฒนาศักยภาพ 11) การสื่อสารกับสังคม 12) การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบาย

 

Abstract

The study has been purposed to understand the meaning, mechanisms, process and patterns of Participatory Public Policy Formulation by Area Healthy Assembly including to providing recommendation to develop the trend to fit into Thai society. The methodology employed was Qualitative Research applying integrated/mixed methodologies for sampling selection and implementation all over the country covering all population of stakeholders during September 30, 2010 to October 1, 2011. The final finding according to the Content Analysis is as following.

1. Meaning is the relationship of relevant parties’ decision making toward the social-expecting demands by constructing public arenas for sectors to enable them to enter to share, learn, discuss, debate and expose information in concern to the public wide and create policy advocacy process through well-organised meeting based on merit and participatory principles and system.

2. Mechanisms in which can be put into 2 categories; main mechanism and support ones.

3. Process in which can be also put into 3 steps; 1. Public issue development 2. Proposal  preparing movement, and 3. Advocacy movement in order to put the policies in practices.

4. Movement pattern/forms can be concluded into 3 dimensions

Dimension 1 Categorized by (Political Policy) Movement

  1. Forest surrounding City
  2. City extending to forest
  3. City building and reforesting
  4. Calm down the heat by coldness
  5. Dog determination

Dimension 2   Process Types/methods

  1. Problem and solution
  2. Scenario and follow up
  3. Best Practice toward to Policy
  4. Policy Watch and warning
  5. Research Base)
  6. Policy Consultation
  7. Basic Components Development, for instances, Information for Public Issue /Policy Mechanism / Policy Networking
  8. Policy Development and follow up method
  9. Press forward method
  10. Share and Learn method

Dimension 3:  Forum Building and Development

  1. National Health Assembly Apply (NHA Apply)
  2. Policy Proactive Deliberate

Three development aspects: 1) Key leaders 2) Functioning design 3) Policy and Stakeholders Network 4) Database information and Area Body of Knowledge 5) Public issues determination and development 6) Clear policy goals direction 7) Strategic and process designs 8) Forum and meeting systems and participation 9) Opportunities and chances proposal advocacy 10) Capacity Building 11) Social dialogues/communication 12) Monitoring and evaluation of policy advocacy.

Downloads

How to Cite

บุญเทียน ส. (2013). รูปแบบการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 29(2), 133–164. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6138

Issue

Section

บทความวิชาการ