เมียฝรั่ง: ภาษาและการสื่อสาร

Authors

  • ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

บทคัดย่อ

ในช่วงของการทำความรู้จักและการเรียนรู้ระหว่างหญิงชนบทอีสานกับชายชาวตะวันตกนั้นภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นภาษาแรกที่ใช้ในการสื่อสาร ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของฝ่ายหญิงส่วนมากเป็นการสื่อสาร ในระดับคำและรูปประโยคอย่างง่าย บางกรณีใช้ภาษาท่าทาง และการวาดภาพ หลังจากแต่งงานฝ่ายหญิงต้องปรับตัวอย่างมากในการเรียนรู้ภาษาของสามี (นอร์เวย์ เยอรมัน และสวีเดน เป็นต้น) จากสถาบันสอนภาษา ที่เปิดสอนในประเทศไทย หรือในประเทศสามี ในลักษณะของครอบครัว หญิงชนบทอีสานผู้เป็นแม่ จะมีบทบาทสำคัญในการอบรมและสอนภาษาไทยให้แก่ลูก ในขณะที่ชายชาวตะวันตกผู้เป็นพ่อจะเป็นผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษาของตนให้แก่ลูก ทั้งนี้ การที่สามีชาวต่างชาติบางคนตัดสินใจมาใช้ชีวิตร่วมกับฝ่ายหญิงในชุมชมอีสาน ยังผลให้เกิดภาวะหลายภาษาในหมู่บ้าน ประกอบด้วย ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาของสามี ด้วยความหลากหลายดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเลือกใช้ภาษา และการสลับภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยมุ่งเน้นความหมายเป็นหลักมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์

 

Abstract

At the beginning of the relationship between Isaan women and western men, English plays an important role as they get to know each other. Isaan women mostly use English at word level or simple sentences. In some cases, they use gestures and drawings. After marriage, women have to learn their husband’s language (Norwegian, German, or Swedish) from a language institute either in their husban’s country or in Thailand.  In raising children, both mother and father teach their own language and foster their own culture in the children.  Some western men have decided to live with their wives in Isaan rural areas; as a consequence, multilingualism exists in these communities. The languages used are Isaan (one dialect of Thai language), standard Thai, English, and the language of the husband. Code switching and language choosing are also used in communication between the wives and their husbands.  However, the focus is on meaning rather than grammatical accuracy.

Downloads

How to Cite

สร้อยกุดเรือ ท. (2013). เมียฝรั่ง: ภาษาและการสื่อสาร. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 29(1), 165–185. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6149

Issue

Section

บทความวิชาการ