พระพุทธศาสนาลาวภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยม 2518-2533
Keywords:
พระพุทธศาสนา, อุดมการณ์, สังคมนิยม, บทบาท, Buddhism, Ideal, Socialism, RoleAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์พระพุทธศาสนาในสปป.ลาว ภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยม จาก พ.ศ. 2518-2533 ผ่านบทบาทของพระสงฆ์ 3 ด้านคือ การปกครอง การเผยแผ่ศาสนาและการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2518 รัฐบาล สปป.ลาวได้ยกเลิกพระราชบัญญัติการปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2502 ทำให้ตำแหน่งพระสังฆราชและสมณศักดิ์ต่าง ๆ ของพระสงฆ์ถูกยกเลิกไปด้วย จากนั้นรัฐบาลโดยความเห็นชอบของคณะสงฆ์ จึงได้ประกาศใช้กฎหมายองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ในการบริหารจัดการองค์กรสงฆ์ รัฐบาลเข้มงวดกับพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กำหนดให้พระสงฆ์ประยุกต์หลักคำสอน ของพระพุทธศาสนาให้เข้ากับปรัชญามากซ์ ห้ามเผยแผ่หลักคำสอนที่ล้าหลัง ในด้านการศึกษา พระสงฆ์ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินงบประมาณ บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ จากกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการเรียนการสอนเน้นหนักในด้านทฤษฎีการเมือง การปกครอง บนฐานนโยบายสังคมนิยม
คำสำคัญ : พระพุทธศาสนา, อุดมการณ์, สังคมนิยม, บทบาท
Abstract
The purpose of this article was to analytic study of Buddhism through the roles of Buddhist monks under the ideal of socialism 1975-1990. The roles of Buddhist monks were of three kinds i.e. administration, propagations and educational management. The results found that after 1975 when the Lao People’s Revolutionary Party changed regime, government had eliminated Sangha administrative Act 2502 and eliminated all positions such as ecclesiastical that had been awarded by Vientiane government. Laos Buddhist Order and new political government established Lao Buddhist Fellowship Organization for sangha administration. Buddhist propagation, Lao Sangha integrated communist theory with Buddhist teachings and prohibited mystic and supernatural principle. And the educational system was based on socialism and under supported by Ministry of Education.
Keywords : Buddhism, Ideal, Socialism, Role