นิทานแบบคึกฤทธิ์

Authors

  • พรธาดา สุวัธนวนิช อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

บทคัดย่อ

นิทานเป็นรูปแบบหนึ่งที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมชใช้ในการนำเสนอเรื่องสั้นโดยปรากฏชัดเจนในเรื่องสั้นจำนวนเจ็ดเรื่อง ได้แก่ เรื่องราชสีห์กับหนู  กบกายสิทธิ์  อีสปสามมิติ  แผ่นดินมหัศจรรย์ นิทานแสนกวน-เกาะร้างทางรัก  เรื่องสั้นสมัยกิน และ คนรู ในลักษณะสหบทที่ล้อกับนิทานที่มีมาแต่เดิม เล่าแบบนิทานแต่หักมุมแบบเรื่องสั้น และเล่านิทานซ้อนเรื่องเล่า การใช้กลวิธีของนิทานในการนำเสนอเรื่องสั้นประกอบกับการแทรกอารมณ์ขันทำให้เนื้อหาที่จงใจวิพากษ์สังคมมีน้ำเสียงออกไปในทางยั่วล้อแต่แฝงประเด็นคมคายที่น่าขบคิด การประกอบสร้างเรื่องสั้นทั้งเจ็ดเรื่องใช้กลวิธีแบบเรื่องสั้นคือการสร้างตัวละครมีมิติทางความคิดและอารมณ์ความรู้สึกและมีบทสนทนาช่วยดำเนินเรื่องและแสดงพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของตัวละคร  นิทานแบบคึกฤทธิ์จึงเป็นวิธีผสมผสานขนบของการเล่านิทานกับเรื่องสั้นอย่างมีวรรณศิลป์เชิงกลวิธี

 

Abstract

Tale is one of style which MRV.Kukrit pramoch presented his short stories was apparented cleary in 7 short stories ; Raung Rachase Kub Nu, Kub Kayyasit, Esop Sammiti, Pandin Mahatsajan, Nitan Sankuan-Ko Rang Thang Rak, Raungsan Samayhin and Khonru, intertextualized with old tales , naratted in tales’ style but used technique of twist-ending and intervened tales in some short stories. Technique of tales to present these supported humour made the intention of social criticizing had mimic tone but sharp point to think.The construction of the 7 short stories used   short stories’ technique: dimention characterized and used dialoque to run the stories and showed beheviour of these characters. Tales of Kukrit’s style was integrated by tradition of tales and technique of short stories

Downloads

How to Cite

สุวัธนวนิช พ. (2013). นิทานแบบคึกฤทธิ์. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 28(3), 93–106. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6164

Issue

Section

บทความวิชาการ