ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ ในชนบทจังหวัดขอนแก่น

Authors

  • ดุษฎี อายุวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นักวิจัยประจำศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วณิชชา ณรงค์ชัย นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

สิทธิแรงงาน, แรงงานนอกระบบ, ผู้รับงานไปทำที่บ้าน, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553, แรงงานที่ไม่เป็นทางการ, Labour rights, Informal labourers, Home based Protection Act 2010, Home based work, Informal sector Labourers

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบในชนบทจังหวัดขอนแก่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบในชนบทจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระดับปัจเจกได้แก่แรงงานนอกระบบที่รับงานไปทำที่บ้านในชนบทจังหวัดขอนแก่น ใช้แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนามาจากข้อมูลเชิงคุณภาพในการศึกษาช่วงแรก เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 343 คนที่สุ่มตัวอย่างมาแบบชั้นภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Chi-square เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

ผลการศึกษา พบว่า แรงงานนอกระบบที่เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ในระดับต่ำ และระดับปานกลาง มากถึงร้อยละ 52.5 และร้อยละ 41.7 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ เป็นรายข้อ พบว่า 2 ใน 3 ของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจ ทั้งในส่วนของกฎหมายที่ให้การคุ้มครองและในส่วนของการส่งเสริมสิทธิแรงงาน  สำหรับในด้านสิทธิและหน้าที่ของผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้าน พบว่า กว่า 2 ใน 3 ของแรงงานนอกระบบไม่มีความเข้าใจเรื่องการทำสัญญาจ้าง รายละเอียดของสัญญาจ้างงาน นอกจากนี้ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน ยังพบว่า ร้อยละ 60.1 ของแรงงานนอกระบบ ไม่ทราบว่ามีมาตรการห้ามให้เด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี และหญิงมีครรภ์รับงานไปทำที่บ้าน และไม่ทราบว่าผู้จ้างงานต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่แรงงานที่รับงานไปทำที่บ้านประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วยจากการใช้อุปกรณ์ที่ผู้จ้างงานส่งมอบให้ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ ด้วยสถิติ Chi-square พบว่า ปัจจัยคุณลักษณะของแรงงานนอกระบบ (รายได้รวม  อาชีพหลักในชุมชน) ปัจจัยด้านประสบการณ์การย้ายถิ่นของแรงงานนอกระบบ ปัจจัยด้านการรับงานไปทำที่บ้านของแรงงานนอกระบบ (ได้แก่ เหตุผลที่รับงานมาทำที่บ้าน ลักษณะงานที่รับไปทำที่บ้าน และผู้จ้างงานที่จ่ายค่าตอบแทน) ตลอดจนปัจจัยด้านการได้รับสนับสนุนทางสังคมเพื่อช่วยเหลือในการใช้สิทธิแรงงานนอกระบบในจังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำเท่ากับ 0.189 0.244 0.212 0.257 0.287 0.250 และ 0.209 ตามลำดับ

คำสำคัญ : สิทธิแรงงาน, แรงงานนอกระบบ, ผู้รับงานไปทำที่บ้าน, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553, แรงงานที่ไม่เป็นทางการ

 

Abstracts

This research aims to study the understanding of labour rights of informal labourers in rural Khon Kaen province and others related factors to understanding of labour rights. Quantitative research was employed with an individual-level unit of analysis of informal home based labourers who worke in rural Khon Kaen province. A interview schedule has been developed by qualitative data from the first phase and structural interviewing method was used for data collection. The sample composed of 343 informal labourers by stratified random technique. Descriptive statistics and Chi-square test were used for data analysis.

The study has found that labourers who were home based workers understood labour rights of informal labourers according to Protection Act 2010 at low and moderate levels of up to 52.5 percent and 41.7 percent respectively. Considering the issues about the labour rights of informal labourers, it was found that two out of three workers did not understand, both in terms of legal protection and promoting labor rights. For the rights and duties of employers and workers who are home based workers, it was found that more than two out of three informal labourers did not understand contract and its details. In addition, for safety at work, 60.1 percent of informal labourers didn't know that there were measures to prevent children under the age of 15 and pregnant women for getting jobs to work at home. They also didn't know that if they were injured during working, the employer must be responsible for their medical expenses.

When analyzing factors related to labor rights understanding of informal labourers with Chi-square, it was found that the characteristics of informal labourers (total income, main occupation), the migration experience of informal labourers, type of getting home based work of informal labourers (including reasons for home based work, type of home based worker, and type of employer who paid compensation), as well as social support for accessing informal labor rights have related to understanding of labour rights of informal labourers at low level of relationship at 0.189 0.244 0.212 0.257 0.287 0.250 and 0.209 respectively at statistically significant at the 0.05 level.

Keywords : Labour rights, Informal labourers, Home based Protection Act 2010, Home based work, Informal sector Labourers

Downloads

How to Cite

อายุวัฒน์ ด., & ณรงค์ชัย ว. (2013). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ ในชนบทจังหวัดขอนแก่น. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 30(1), 17–50. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6253

Issue

Section

บทความวิชาการ