กระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษา กรณีบ้านพุพระ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Keywords:
กระบวนการพัฒนา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, กระบวนการเรียนรู้, การพึ่งตนเองได้, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การมีส่วนร่วม, development process, philosophy of sufficiency economy, learning process, self-help, self-reliance, sustainable development, participationAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษากรณีบ้าน พุพระ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 2. เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการของหมู่บ้านพุพระ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว จำนวน 15 คน การรวบรวมใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบความตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability) แล้ว ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การให้ความรู้เรื่อง ศีล สมาธิ และฝึกปฏิบัติสมาธิ การสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยการรับประทานอาหารร่วมกัน และการให้ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ เป็นอันดับแรกสุด เพราะเมื่อผู้นำชุมชน มีคุณธรรม มีจริยธรรมที่ดีงาม เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และรู้จักใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ย่อมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน และสามารถนำประชาชนในหมู่บ้านให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ ส่วนรูปแบบการพัฒนา ผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น พบว่า ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การพัฒนาบุคลิกภาพ ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก ส่วนที่ 2 การพัฒนาความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ชัดเจน ส่วนที่ 3 การพัฒนาเจตคติที่ดี มีความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่ 4 การพัฒนาทักษะ หรือความชำนาญในการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแบบอย่างกับประชาชนในชุมชน และส่วนที่ 5 การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลายเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 2 ส่วน คือ
1. ข้อเสนอแนะ ที่ได้จากผลการวิจัย
1.1 เนื่องจากในกระบวนการวิจัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชนในเวทีประชาคมหมู่บ้าน แต่มติที่ประชุมปฏิเสธทุกโครงการเนื่องจากต้องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้นำชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก ฉะนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าการทำงานพัฒนาชุมชนต้องยึดประชาชนเป็นหลักในการพัฒนา ตามหลัก “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ไม่ใช่การนำสูตรสำเร็จของการพัฒนาจากบุคคลภายนอกชุมชนไปกำหนดให้ประชาชนในชุมชนคิดตาม ทำตามดังเช่นปัจจุบัน
1.2 เนื่องจากมติที่ประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านต้องการให้มีการจัดกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกัน ในลักษณะต่างคนต่างนำอาหารมาจากบ้านไม่ต้องใช้เงินงบประมาณของทางราชการ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน ฉะนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า ไม่ควรใช้เงินเป็นตัวตั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ให้ใช้ ทุนทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยคน คือ การช่วยเหลือ เกื้อกูล แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน สถาบันสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น องค์ความรู้ของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นๆ เป็นหลักเพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
1.3 เนื่องจากผู้วิจัยได้เสนอโครงการต่างๆ ในการพัฒนาผู้นำชุมชน แต่ถูกปฏิเสธ เพราะมติที่ประชุมต้องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้นำชุมชนเป็นอันดับแรก เพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนที่จะนำประชาชนในหมู่บ้านพัฒนาตาม ฉะนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า การพัฒนาผู้นำชุมชนต้องพัฒนาที่จิตใจก่อนเป็นอันดับแรกสุด โดยเน้นให้มีหลักศาสนาในการดำรงชีวิต ซึ่งตามศาสนาพุทธ ก็คือ การมีศีล และฝึกสมาธิให้จิตนิ่งจนสามารถเกิดการหยั่งรู้ (insight) ได้ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดปัญญาในที่สุด มีความสงบเยือกเย็น รู้จักให้ แบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจจนเป็นนิสัย
1.4 เนื่องจากในการพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมของผู้นำชุมชนต้องใช้ระยะเวลานาน ด้วยการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ฉะนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า การทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับบุคคล กลุ่มคน หน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน สโมสร มูลนิธิในทุกระดับ ต้องใช้ระยะเวลา ความอดทน การรอคอย ความมุ่งมั่น ความเพียรพยายามอย่างจริงจัง จึงจะประสบผลสำเร็จ
1.5 บุคคล หน่วยงาน องค์กร หน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนในทุกระดับควรนำเสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ทางสื่อทุกรูปแบบ และนำไปขยายผลการปฏิบัติในทุกพื้นที่อย่างจริงจังต่อไป
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อเนื่อง
2.1 ผู้สนใจควรศึกษากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการขับเคลื่อนของผู้นำชุมชน เพื่อให้เข้าถึงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านพุพระ อย่างต่อเนื่อง
2.2 ผู้สนใจควรศึกษาถึงกระบวนการขยายผลการนำความรู้เรื่องศีล สมาธิ และการฝึกปฏิบัติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และขยายผลต่อผู้อื่นของผู้นำชุมชนบ้านพุพระต่อไป
คำสำคัญ : กระบวนการพัฒนา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, กระบวนการเรียนรู้, การพึ่งตนเองได้, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การมีส่วนร่วม
ABSTRACT
The research on the development of community leaders to gain access to the philosophy of sufficiency economy: A Case Study Moo 4, Tambon Nong Bua Phut, Muang Kanchanaburi District, Kanchanaburi. The purpose are 1. To the development community to gain access to the philosophy of sufficiency economy and 2. To model the development community to gain access to the philosophy of sufficiency economy. The population of the research community as the output of the Moo 4, Tambon Nong Bua village, 15 people gathered at the interview and test validity and reliability. then the results were as follows. Development community to gain access to the philosophy of sufficiency economy and the knowledge of the precepts, meditation, and meditation. Cultural heritage by eating together. And knowledge of medicinal plants for health care. Be the first. When community leaders with integrity and good ethics. Cartoon of the value of the local minister. Local knowledge. And the use of resources in the interests of the people is indeed a good model. And can be accessed by people in villages to the philosophy of sufficiency economy. Form part of the community to gain access to the philosophy of sufficiency economy, it was found that consists of five parts.
The development of a personality. Include the development of personality and development.
The personality. Part 2 of the development of knowledge, philosophy of sufficiency economy is clear. Part 3 of a good attitude. Confidence. Believe in the philosophy of Sufficiency. Part 4 expertise to follow the philosophy of sufficiency economy. An example for the people in the community. Part 5 of the weather events. A variety of ways to access. The philosophy of sufficiency economy.
Researchers have suggested two main parts.
1. Feedback from the research.
1.1 The research process. Researchers analyzed data for various projects. To develop community leaders in the village community stage. The meeting rejected due to moral development. Moral of the community before. It is therefore suggested that the development community to the public in the development of principles "on the village" is not the success of the development from outside the community to the people in the community based. By the current instance.
1.2 The Community Housing Forum meeting to be arranged to share a meal. The people to bring food from home no capital budget of the government. To continue the tradition of the community. It is therefore suggested that Should not be used as a set of activities. The philosophy of sufficiency economy. However, the use of social capital is. Social institutions, including the local culture. Knowledge of the community. Natural resources. And in that community. The main cause was the same as August.
1.3 The proposed research projects. In the development of community leaders, but was rejected because the resolution of the merits. Moral of the community first. According to the philosophy of sufficiency economy before the people of the village, so the development is therefore proposed that The development of community leaders to develop their first end. The main focus of religious life. According to Buddhist precepts, and meditation is a spiritual dynamic that it can be intuitive (insight) own the copyright to. Have been known to help calm the innocent and helping others is a habit.
1.4 The development of morality. Ethics and community leaders must take a long time. With the knowledge. Understanding. And practice by yourself. It is therefore suggested that Their activities. Diverse. The philosophy of sufficiency economy, both in individual people, private clubs, foundations, government agencies at all levels. Requires time, patience to wait for a serious committed effort. To be successful.
1.5 Individual agencies and private organizations, government agencies at all levels should lead to the development community to gain access to the philosophy of sufficiency economy to the public through all media formats. And to increase performance in all areas to get serious.
2. Suggestions for further research
2.1 Interested persons should study various activities sprung up from the driving process of community leaders to get an access to the Philosophy of Sufficiency Economy in Phuphra Village sporadically.
2.2 Interested persons should investigate the propagation process on the knowledge of precepts, meditation and meditation practice for the benefit of oneself and others in Phuphra Village.
Keywords : development process, philosophy of sufficiency economy, learning process, self-help, self-reliance, sustainable development, participation