การรวบรวมสารสนเทศชื่อผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านดอนดู่ ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมสารสนเทศพืชผักพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านดอนดู่ ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชผักพื้นบ้าน และเพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูและขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน การเก็บข้อมูลผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่จริงและใช้วิธีการ transect walk จาก 3 บริเวณ คือ 1) ที่นา 2) ป่าโคกโจด ซึ่งเป็นป่าชุมชนบ้านดอนดู่ และ 3) ที่สวน ซึ่งเป็นที่สาธารณะ ชุมชนนำมาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษของชุมชน ผู้เก็บข้อมูลประกอบด้วยคนในชุมชน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้าน สมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ และนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แล้วบันทึกข้อมูลในแบบเก็บข้อมูล จากการศึกษาพบว่ามีผักพื้นบ้านทั้ง 3 บริเวณ ทั้งหมด 33 ชนิด เป็นไม้ต้น 13 ชนิด ไม้เลื้อย 7 ชนิด ไม้ล้มลุก 6 ชนิด และอื่น ๆ 7 ชนิด การนำไปใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร และใช้ในการสมุนไพร อีกทั้งยังพบว่าการเก็บพันธุ์ผักพื้นบ้านไว้ขยายพันธุ์ เช่น ผักปลัง และมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์กันภายในชุมชน นอกจากนั้นการปลูกผักของชุมชนยังมีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การปลูกผักต้องบอกกล่าวกับเจ้าที่เจ้าทาง ต้องปลูกในวันพฤหัส และมีการเชื่อเกี่ยวกับนิสัยของปลูกว่าจะทำให้ผักนั้นสวยงามและมีผลผลิตที่ดี
ABSTRACT
The purpose of this study was to gather information on cultivation and use of native vegetables by the Local communities of BanDon Do Khanthararat sub-district, Kantharawichai District, Mahasarakham Province and also to study the ways of protection of native vegetable species. Data was collected by local people and Information Science students, Faculty of Informatics, Mahasarakham University of three areas: 1) the field 2), the community forest and 3), a public land where the local community used to grow vegetables for the community. The data was also collected from the members of the communities, who grow vegetables and have knowledge of local vegetables. The study found that of the thirty three species of native vegetables, there are thirteen species, is tree, seven species are climbers, six species are herbaceous, and seven species are others. It was also found that to store indigenous vegetable seeds for plan. The community members believe that if the seeds are planted on Thursday, the yield of vegetables is more in quantity with good quality.