อุปลักษณ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำของคนขอนแก่น
Abstract
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำของคนขอนแก่นว่ามีการใช้คำอุปลักษณ์อย่างไร คำว่า แหล่งน้ำ ในงานวิจัยนี้ หมายถึง แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ ได้แก่ แม่น้ำ หนองน้ำ และอ่างเก็บน้ำ ใน อำเภอเมือง อำเภอบ้านอุบลรัตน์ และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ที่อาศัยอยู่ใน 3 อำเภอข้างต้น โดยทุกคนต้องเคยใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำสาธารณะมาก่อน
ผลการศึกษาพบว่า อุปลักษณ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำที่พบมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ สถานที่ คน นามธรรม และสิ่งของ ตามลำดับ อุปลักษณ์แหล่งน้ำถูกนำมาเปรียบเทียบกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ พ่อ/แม่ มากที่สุด ตามลำดับ การใช้คำอุปลักษณ์ดังกล่าวแสดงถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งน้ำของคนในสังคมเมืองปัจจุบัน
Abstract
This research was aimed at investigating metaphor used by Khon Kaen people, that is, how to refer to water resources. ‘Water resource’ was used in this study to refer to public water resources: river, watercourse and lake, being in the three districts, Muang, Banphai, and Ubonrat, in Khon Kaen province. The methods used included questionnaires and interview. The informants were 100 people living in three districts above. All of them have to utilize water resources.
The finding revealed four categories of water resource metaphor: place, human, intangible object and object, respectively. The water resource metaphor was compared most frequently to: holy ambiguous, and parent. These metaphor reflected views on water resources contemporary of urban people today.