การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครัวเรือนอีสานในยุคโลกาภิวัตน์
Keywords:
ภูมิคุ้มกันทางสังคม, ความอยู่ดีมีสุข, โลกาภิวัฒน์, Social Immunization, Wellbeing, GlobalizationAbstract
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีเป็นการศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนอีสานภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ และหารูปแบบวิธีการพัฒนาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับครัวเรือน การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการจัดการความรู้ ในระยะเวลา 10 เดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 จนถึงเดือนสิงหาคม 2552
ผลการศึกษาพบว่าโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ขอบเขตพื้นที่ทางสังคมสามารถเปิดเชื่อมเข้าหากันได้ทั้งหมดทั้งในระดับชุมชนระหว่างชุมชนและระดับโลก ในขณะเดียวกันสถาบันทางสังคมในวัฒนธรรมอีสานยังคงทำหน้าที่ในการบูรณาการให้เกิดการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนและเครือข่ายทางสังคมในท้องถิ่น ทั้งนี้ได้ผนึกกำลังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ในการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ คือการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานในการพัฒนาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ในขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาท้องถิ่นควรสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาแนวทางการบูรณาการองค์ความรู้สมัยใหม่กับชุดความรู้ในวัฒนธรรมความเชื่อในท้องถิ่นนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับท้องถิ่นในการปรับตัวให้อยู่ได้อย่างมีภูมิคุ้มกันในยุคโลกาภิวัตน์
คำสำคัญ : ภูมิคุ้มกันทางสังคม, ความอยู่ดีมีสุข,โลกาภิวัฒน์
Abstract
This article aim to analyze the change of ‘Issan’ household in globalization context and seeking pattern and approaches can be develop social immunization in globalization context. This study was based on participatory learning action-knowledge management less than 10 months period from November 2008 to August 2009.
The following were results of this study. In a globalization world, where all the social boundaries are removed and shifted through the inter- and intra-connectedness, in other words community institutions in ‘Issan’ has been both subjected to integrative social network by the local government and manipulated as an instrument for social development in global era. Thus, a set of suggestion is made. Policy suggestion is that certain strategic and planning related to social immunization development be compromised according to authentic problems and local requirements. Meanwhile, acting suggestion is that exchange of knowledge and collaboration in local culture, belief and Buddhism so that, finally, local communities and community organizations could gain the optimal benefits from social immunization development in Globalization context.
Keyword : Social Immunization, Wellbeing, Globalization