ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • กชกร คงเสมา อาจารย์สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Abstract

บทคัดย่อ

ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญมากในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคแห่งการแข่งขันของโลก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้า การติดต่อสื่อสาร การผูกสัมพันธไมตรีทางการทูตกับนานาอารยประเทศ ตลอดจนการค้นคว้าหาข้อมูลความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารทั้งสิ้น บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยในเรื่องความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

จากการศึกษาด้านความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ในด้านการบอกทิศทางมีคะแนนสูงสุด อยู่ในระดับสูง(ร้อยละ90.30) รองลงมาคือ ด้านการสนทนาทั่ว ๆไป อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 77.50)  ด้านความรู้และคำศัพท์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.93) และด้านการทักทายและการแนะนำตัว อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.57) ตามลำดับ

 

Abstract

The proficiency of using English for communication plays an important role in many aspects of personal and business life such as for trading, diplomacy, searching for knowledge and technology.  This is becoming so for the majority of the countries around the world where it is becoming necessary to use English as a medium for communication.  This paper is concerned with the analysis of the proficiency of using English for communication of undergraduate tourism students of private universities in Bangkok metropolitan area.

This research found that the students displayed their highest proficiency in “telling direction” (90.30 %), followed by a high proficiency on “general conversation” (77.50%), a medium proficiencies on “tourism information and vocabularies” (68.93%) and “greeting and introduction” (65.57%).

Downloads

How to Cite

คงเสมา ก. (2013). ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 27(2), 99–118. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6391

Issue

Section

บทความวิชาการ