การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Keywords:

รูปแบบวิธีการจัดสวัสดิการสังคม, การพัฒนาสังคม, แนวคิดต้นไม้สวัสดิการ, social welfare management approaches, social development, the tree welfare concept

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด และภาคีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม ให้บรรลุผลตามเป้าหมายและมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน 2) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการจัดสวัสดิการโดยขบวนองค์กรชุมชนในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่   3)เพื่อเสนอแนะแนวทางในการขยาย เชื่อมโยงและ บูรณาการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกับกองทุนอื่นๆในจังหวัด   การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบการสร้างเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการจัดการความรู้  มีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึง เดือนกันยายน 2551

ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมในจังหวัดขอนแก่น มีองค์กรภาครัฐที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นกลไกทางราชการหลักในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งหมด  11 องค์กร รวมทั้งมีองค์กรภาคประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่เป็นกลไกในระดับพื้นที่ในการดำเนินงาน  การผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการจัดสวัสดิการสังคมต้องสร้างเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างแผนปฏิบัติการร่วม และการลงมือทำงานร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า SPA Model   2) รูปแบบและวิธีการจัดสวัสดิการสังคมมี 2 รูปแบบ รูปแบบแรกโดยองค์กรภาครัฐจะมีการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการบริหารกองทุนใช้รูปแบบการทำงานที่เน้นโครงการเป็นตัวขับเคลื่อนและดำเนินการอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ของราชการอย่างเคร่งครัด รูปแบบที่สองโดยชุมชนท้องถิ่นจะดำเนินงานผ่านคณะอนุกรรมการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเน้นการทำงานในลักษณะเครือข่ายในท้องถิ่นและมีความยืดหยุ่นสูง แนวทางในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมในพื้นที่จะต้องสร้างความร่วมมือร่วมใจและผนึกกำลังในการทำงาน  ผ่านการจัดสวัสดิการที่ผสมผสานกันระหว่างสวัสดิการโดยรัฐและสวัสดิการภาคประชาชน 3) แนวทางการขยายเชื่อมโยงกองทุน สามารถทำได้ในระดับตำบลโดยการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งสามารถสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ทั้งงบประมาณและบุคลากร และแนวทางการบูรณาการกองทุนมีความเป็นไปได้ที่ชุมชนจะใช้เป็นเวทีของการเรียนรู้มากกว่าการระดมทุนร่วมกัน

ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายคือ ควรมีการผ่อนปรนระเบียบข้อกฎหมายการจัดการกองทุนสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการของท้องถิ่น และข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการในพื้นที่ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการวางแผนการการปฏิบัติงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่ร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน เพื่อทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ด้านการจัดสวัสดิการสังคมมากที่สุด

คำสำคัญ : รูปแบบวิธีการจัดสวัสดิการสังคม, การพัฒนาสังคม, แนวคิดต้นไม้สวัสดิการ

 

Abstract

The objectives of this study were 1) to support performance of the provincial social welfare management fund sub-committee, of society-oriented strategy working group and of authorities involved with social welfare management for realization of the set targets and  collaboration establishment, 2) to explore patterns and approaches in social welfare management through local organizations based on issues and localities and 3) to propose guidelines in expansion, coordination and integration between social welfare supporting funds with other provincial funds. This pilot project was based on participatory learning action-knowledge management under 1-year period from October 2007 to September 2008.

The results were 1) Movement in social development and social welfare management in Khon Kaen was actively undergone by the government sectors under the Ministry of Social Development and Human Security, which was a major governmental authority in affair of social welfare management, totally 11 agencies. The people, local, Tambol administration and public organizations were also key mechanism. Therefore, sharing, planning and acting model (SPA model) were required.  2) Patterns and approaches were revealed in two forms : the government agencies implemented through project-oriented actions, and the local organizations worked through community-based sub-committee in the province through the concept of local network establishment and high flexibility. The concept to support welfare management, local cooperation and synergistic approach were required through government agencies and people sections. And, 3) to expand fund network, this could be achieved in Tambol level through supports from Tambol administration organizations in form of budgetary and personnel supports, while in respect of fund establishment, communities were likely to were learning area rather than collaborative fund raising.

Thus, a set of suggestions is made. The policy suggestion is that certain regulations and laws related to social welfare fund should be compromised according to original problems and local requirements. And implementing suggestion is that exchange of knowledge and collaboration in planning local social welfare support should be implemented in order to reduce overlapped work to gain the optimal benefits from social welfare management.

Keyword : social welfare management approaches, social development, the tree welfare concept

Downloads

How to Cite

ธีระวิสิษฐ์ อ. (2013). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 27(1), 81–106. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/6401

Issue

Section

บทความวิชาการ