พัฒนาการในการสร้างพระเครื่องในภาคอีสาน

Authors

  • วิเชียร แสนมี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

พัฒนาการ, พระเครื่อง, ยุคทวารวดี, กรุ

Abstract

บทคัดย่อ

          พระพิมพ์ หรือพระเครื่อง หมายถึง เครื่องรางของขลัง หรือพระเครื่องราง ซึ่งเกิดจากการนำเอาสิ่งที่เป็นพุทธคุณเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อที่เป็นไสยขาว ทำให้กลายเป็นวัตถุสำเร็จรูปที่รวบรวมบรรดาของขลังทั้งมวลให้อยู่ภายในวัตถุเดียวกัน เรียกว่าวัตถุมงคล ทำให้ง่ายแก่การรักษา พกพาติดตัว พระเครื่องจึงนับว่าเป็นเครื่องรางของขลังแบบใหม่ที่ทันสมัย เป็นที่นิยมกันมาก ในอดีตและปัจจุบัน การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ คือ เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา  เพื่ออุทิศส่วนกุศล  เพื่ออาราธนาคุณพระพุทธานุภาพให้บังเกิดผลกับตัว  หรือที่เรียกกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า  “สร้างเพื่อไว้ใช้”  การสร้างพระตามคตินี้จะมีการปลุกเสก เวทย์มนต์ คาถาอาคม  ให้บรรจุลงในพระพิมพ์หรือพระเครื่อง 

         ในปัจจุบันได้มีมูลเหตุของการสร้างพระเครื่องขึ้นมาอีกในรูปแบบหนี่งเพื่อหารายได้จากการบูชาไปก่อเกิดสาธารณประโยชน์มากมายทั้งในพระศาสนาและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม  ซึ่งมูลเหตุการสร้างนี้กำลังได้รับความนิยมและแผ่ขยายเป็นอย่างยิ่ง เช่น สร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ ระลึก ให้กับผู้บริจากทรัพย์

สร้างพระเครื่องเพื่อให้เป็นขวัญ และกำลังใจ ในการทำงาน สร้างพระเครื่อง เพื่อหาทุนการศึกษาให้กับพระภิกษุและสามเณร เพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง เพื่อแจกเป็นของชำร่วย เพื่อบรรจุลงกรุ เจดีย์ สถูป ซึ่งล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างที่แตกต่างกันออกไป

          รูปแบบศิลปกรรมของพระเครื่องดินเผากรุนาดูน ที่ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2522 จำแนกรูปลักษณะของพระพิมพ์ดินเผา ออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่ สามเหลี่ยมรูปใบไม้ สามเหลี่ยมหน้าจั่ว สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเหลี่ยมยอดโค้ง และลอยตัวองค์เดี่ยว โดยแบ่งออกเป็นปางต่างๆ ดังนี้ ปางแสดงพระธรรมเทศนา ปางยมกปาฏิหาริย์ ปางมุจลินทร์ ปางขัดสมาธิ ปางลีลา พระแผง และแผ่นดินเผารูปสถูปจำลอง ซึ่งล้วนแต่เป็นศิลปกรรมในสมัยทวาราวดี

 

คำสำคัญ : พัฒนาการ, พระเครื่อง, ยุคทวารวดี, กรุ 

          

Abstract

          Amulet is charm, holy or sacred item that made of holy objects applied with belief of good magic and become all-charming in one object that called sacred object. Amulet is easy to keep and carry, it’s modern sacred object and it’s very popular nowadays. In the past, reasons of making amulet or sacred object are inherit Buddhist, consign merit, made good wishes to self and for the simple reason is “make for use”. The making of amulets follow traditional concept will always include chanting an incantation over sacred object.

          In present days, reason of making amulets are different, it made for earn money to do many public good, also religious activities and social activities. These reason is now popular and expanding; for examples of making amulet : to give to people who donate money as souvenir, to give amulet as gifts and encourage in working, to earn money for scholarship for monks and neophyte and use amulet as sacred object for use as souvenir, to put in repository, pagoda or shrine. Reasons of making amulet are different and various.

          Forms of Na Dun clay amulets art that was found in 1979 can classify in 6 forms included triangle leaf, isosceles triangle, rectangle, square, square base – curve top and statue. And classify by postures: give a sermon posture, show Yo Ma Ka miracle posture, Nak Prok posture, sit crossed-leg posture, Lee La posture, pack of Buddha and baked clay sheet with shrine picture. All of them are arts in Thavarawadee’s age.

 

Keywords : Evolution, Amulet, Thavarawadee’s age, Repository.

Downloads

Published

2016-08-31

How to Cite

แสนมี ว. (2016). พัฒนาการในการสร้างพระเครื่องในภาคอีสาน. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(2), 72–88. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/71644

Issue

Section

บทความวิชาการ