การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษาด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ; The Development of English Reading Skills by Using the Critical Thinking Process of Students Majoring in Physical Education
Keywords:
รูปแบบการเรียนการสอน, การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, Instructional Model, Critical Thinking, English Reading SkillsAbstract
There were two objectives of the study: 1) to develop and evaluate individually the progress of physical education major students in their reading skills; 2) to survey the satisfaction of physical education major students by using the critical thinking process. The samples consisted of 90 educational students majoring in physical education from Chandrakasem Rajabhat University. There were two steps in the research process: 1) to plan the research methodology and design the research instrument 2) to synthesize and design the model of activity. The Instruments employed in this study were the English reading skill exercises, English reading quality assessment form, Pre-test and Post-test. The findings revealed that the participating students who studied by using the critical thinking process in English reading activities scored higher than in the pre-test significantly at .01 level. The participants were also satisfied with the implementation of critical thinking process to develop their reading skills with the mean level of satisfaction at 4.50. (SD = .55)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาพลศึกษา ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และเพื่อประเมินผลอัตราความก้าวหน้าด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาแบบรายบุคคล 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษาที่เรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 90 คน โดยเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผน กำหนดแผนงานและเครื่องมือวิจัย 2) สังเคราะห์และกำหนดรูปแบบกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะ การอ่าน แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน–หลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน มีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในภาพรวม โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.50 (SD.= .55)