พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน; The function of long-boat racing tradition of Isan region

Authors

  • รัตนา จันทร์เทาว์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ประเพณีท้องถิ่น, ภาคอีสาน, บทบาทหน้าที่, คติชนวิทยา, การแข่งเรือ, local tradition, Isan region, functionalism, folklore, boat racing

Abstract

        Isanregion of Thailand has variously cultures and traditions based on the Buddhist religion and sacred trust which are crucial tools to build the identity in their community. This article aims to explain the function of long- boat racing, in the Isan region. This research is a qualitative research and use the folklore frameworks adapted the functionalism by William Basscom (1965). The data were collected by observation, in deep-interviewtheresidents, tourist, companies, and government officials. The annual boat racing tradition of Kumphawapi city, Udon Thani province in Isan region of Thailandheld in November 2014 is the case study of the research.

        The finding was found that the long-boat racing tradition has been changed organizer from the villagers or temple in the past time to be the government’s organizer in the present time. This tradition, however, still maintained 4 functions as Basscom (1965) proposed; revealsIsan society, support education, behavior patterns in society accepted, and support entertainment for people in society. The last function is the most distinctly maintained whilethe function of maintain education hasbeen reduced because the changing of city’s management to be new model for tourist.

 

บทคัดย่อ 

          ภาคอีสานของไทยมีความหลากหลายด้านประเพณีที่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาและการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งต่อการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนอีสาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพลวัติบทบาทหน้าที่ของการแข่งเรือยาวซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคอีสานการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กรอบการวิเคราะห์ทางคติชนวิทยา (Folklore) โดยประยุกต์จากทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยม (Functionalism) ของ วิลเลี่ยม แบสคอม (1965)  ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชาชน นักท่องเที่ยว บริษัทห้างร้าน และเจ้าหน้าที่ของภาครัฐผู้จัดงาน การจัดการแข่งเรือยาวประจำปีของตำบลกุมภาวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2558เป็นกรณีศึกษาในการวิจัยครั้งนี้

          ผลการวิจัยพบว่าแม้ว่าการแข่งขันเรือยาวจะเปลี่ยนแปลงไปด้านการจัดการจากอดีตที่หมู่บ้านหรือวัดเป็นผู้จัดการแข่งขันมาสู่การจัดโดยหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบัน แต่การแข่งขันเรือยาวนี้ก็ยังคงทำหน้าที่ทั้ง 4 ประการ ตามแนวคิดของแบสคอม คือ หน้าที่การเป็นกระจกสะท้อนสังคม หน้าที่ด้านการให้การศึกษาแก่สมาชิกชุมชนหน้าที่ทำให้เกิดการยอมรับแบบแผนพฤติกรรมของคนในสังคม และหน้าที่ด้านการให้ความบันเทิง โดยพบว่ายังคงรักษาหน้าที่การให้ความบันเทิงเด่นชัดที่สุด แต่หน้าที่ด้านการให้การศึกษามีบทบาทลดลงจากรูปแบบการจัดการแข่งขันเรือยาวที่เปลี่ยนแปลงจากอดีต

Downloads

Published

2016-12-30

How to Cite

จันทร์เทาว์ ร. (2016). พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน; The function of long-boat racing tradition of Isan region. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(3), 115–134. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/74996

Issue

Section

บทความวิชาการ